ยี

ข้อมูลที่น่าสนใจ
เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ
digital-transformation-to-build-engage
Engagement06 พฤษภาคม 2023

ไม่ควรพลาด การทำ Digital Transformation เพื่อสร้าง Engage ในธุรกิจปัจจุบัน

           หลังจาก 1Moby เคยเขียนบทความ Digital Transformation คืออะไร พร้อมตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว เพื่อบอกเล่าความหมายการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนแปลงปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจหรือองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นอีกทั้งช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีความสะดวกสบายให้กับลูกค้า และเพื่อต่อยอดไอเดียรอบนี้เรามาต่อกันกับหัวข้อการทำ Digital Transformation โดยการใช้ Metaverse โลกเสมือนเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมกับแบรนด์กันค่ะ

futuristic-smart-city-with-5g-global-network-technology_53876-98438-1-1024x682.jpeg

ทำไมเราต้องสร้าง Engage ให้กับ Brand

          การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า หรือที่เรียกว่า Engagement หรือบ้างก็เรียกว่า Engage นั้นมีความสำคัญ เพราะช่วยผลักดันให้ลูกค้าสามารถจำแบรนด์เราได้ มีความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว พูดง่าย ๆ คือ ยิ่งสร้าง Engage ได้ดีเท่าไหร่ เราก็ช่วยสร้างประสบการณ์ประทับใจ สร้างความพึงพอใจ อีกทั้ง ได้ฐานลูกค้าใหม่ และช่วยรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ให้อยู่ในระยะยาว

           หากนึกไม่ออกว่าการสร้าง Engage คืออะไร? 1Moby อยากให้คุณนึกถึงการที่ลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย หรือคนที่ติดตามคุณมากดไลค์ (Like) กดแชร์ (Share) พิมพ์คอมเมนต์ (Comment) และร่วมกิจกรรมชาเลนจ์ต่าง ๆ ในบทความนี้จะพูดถึงการสร้าง Engage แบบ Digital Transformation สร้างประสบการณ์แบบใหม่ด้วยการใช้ Metaverse โลกเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบได้ทันทีเป็นหลักค่ะ

ถามว่า Engage กับ Digital Transformation เกี่ยวข้องกันอย่างไร

          ให้การกำหนดกลยุทธ์ชัดเจนไม่สับสน เราจะต้องเข้าใจว่า Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีและโซลูชั่น เช่น Metaverse ฯลฯ มาช่วยให้แบรนด์สร้าง Engage ได้อย่างแตกต่าง ช่วยสะท้อนตัวตนของธุรกิจได้ชัดเจน ภายใต้เป้าหมายการทำ Customer Engagement ช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมที่ตอบโจทย์ธุรกิจให้มากที่สุด สร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว มอบประสบการณ์ราบรื่น ไร้รอยต่อให้กับลูกค้าได้อย่างเข้าใจภายในโลกเสมือนจริงดังกล่าว  หรือถ้ายังไม่เต็มอิ่มต้องการอ่านบทความเกี่ยวกับ Digital Transformation สามารถอ่านบทความ Digital Transformation คืออะไร มีเทรนด์ไหนบ้างที่กำลังมาแรงได้นะคะ ทีมงาน 1Moby เราเขียนสรุปเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

ยกตัวอย่างการทำ Metaverse เพื่อสร้าง Engage

          กระแส Metaverse นั้นเกิดขึ้นหลังจากการที่ Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook เปลี่ยนชื่อตัวเอง เปิดตัว Meta และพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่โลกเสมือนหรือ Metaverse เมื่อเรารู้และเข้าใจว่า Metaverse เป็นสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ รวมสื่อ ความบันเทิง ซอฟแวร์ และเกมส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Tranformation ช่วยสร้าง Engage ได้ เช่น ให้ลูกค้าเลือกดูรายละเอียดสินค้า และสามารถทดลองสวมใส่ได้ และสามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่/พนักงาน ผ่านโลกเสมือนนั้น ๆ ได้ทันทีทุกที่แบบไม่ต้องเดินทางไปสาขา ฯลฯ

          เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เดี๋ยวเรามาดู 2 ตัวอย่างธุรกิจ 2 กรณีศึกษาที่ทำ Metaverse เพื่อสร้าง Engage สนับสนุนความต้องการของลูกค้าไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

1.NIKELAND ดินแดนในฝันของคนรักกีฬา

เริ่มจากสร้าง Metaverse เพิ่ม Engage ของ Nike ยักษ์ใหญ่แห่งวงการกีฬาที่ลงทุนสร้างโลกเสมือนจริงร่วมกับแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ Roblox เกมแนว Sandbox ชื่อว่า NIKELAND โลกเสมือนที่เป็นสนามกีฬา แข่งกีฬาแบบมินิเกมที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับเกม Fortnite อยู่เหมือนกัน

สำหรับโลกเสมือนจริงบนแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ NIKELAND on Roblox เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งเปิดให้แฟนคลับไนกี้เข้าไปสร้างตัวอวตาร์ (Avatar) จะสวมใส่ไอเทมเสื้อผ้า กางเกง รองเท้าสนีกเกอร์ กระเป๋า ฯลฯ รวมทั้งใช้เทสสินค้าใหม่ในโลกเสมือนที่เป็น Digital Showroom โชว์รูมออนไลน์ว่า สินค้านั้น ๆ มีคนสนใจไหม ? หากมีคนสวมใส่เยอะ มีความนิยม ก็จะเปิดจำหน่ายจริง ๆ เหมือนเป็นการทดสอบหรือโปรโมทสินค้าก่อนขายจริง ๆ อ่ะล่ะ

FHEiE94VkAcIKDI Medium.jpeg
แหล่งที่มา Nike Basketball

 

อย่างไรก็ดี Nike นั้นจริงจังสุด ๆ ในเรื่องการลงทุน Metaverse อย่างมาก เห็นได้จากการรุกหนักเข้าซื้อกิจการ RTFKT Studio (อาร์ติแฟกต์) สตาร์ทอัพบริษัทผลิตรองเท้าและแฟชั่นดิจิทัล NFT โดยล่าสุดได้ทำการเปิดขายรองเท้าผ้าใบ Metaverse รุ่นแรกของ Nike ใช้ชื่อว่า Nike Dunk Genesis CryptoKicks หรือสั้น ๆ ว่า CryptoKicks บนเครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นคอลเลกชั่น NFT เพื่อสร้างชุมชนเกี่ยวกับอุปกรณ์สวมใส่เสมือนจริง

 

2.Uniqlo กับ Animal Crossing  

ต่อกันที่ Uniqlo แบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่น ก็เป็นอีกแบรนด์ที่ขอเข้าไปแจมในโลก Metaverse แบบเบา ๆ จับมือกับเกมส์ Animal Crossing สำหรับ Nintendo Switch เกมส์สไตล์ฟาร์มสร้างบ้านเมืองบนเกาะร้างในป่าใหญ่ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระตามต้องการ พร้อมๆ กับการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผองเพื่อนสัตว์โลกสุดน่ารักบนเกาะ เป็นอีกเกมส์โปรดของลิซ่า Blackpink เลยนะ โดย Uniqlo เนี้ยะเลือกเปิดตัวเสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่ 2021 Sping/Summer Collection ในเกม Animal Crossing ให้ได้เดินเลือกช้อปแบบ STOP by Uniqlo Island เดินเลือกใส่เสื้อยืดคอลเลคชัน UT กางเกง กระเป๋า ฯลฯ ปรับแต่งตัวละครในเกมส์ตามสบายมีเสื้อผ้ากว่า 22 แบบให้ลองโหลดใส่มิกซ์แอนด์แมช์สนุก ๆ และมีขายจริงในช้อปด้วยค่ะ

ยกตัวอย่างการทำ Metaverse เพื่อสร้าง Engage

          เห็นภาพและเข้าใจกันแล้วใช่ไหมคะ แต่ใด ๆ  Digital Transformation ไม่ได้สัมพันธ์กับการทำ Engage อย่างเดียวเท่านั้นนะ ยังมีอีกหลายรูปแบบที่ Digital Transformation เข้าไปเกี่ยวข้องและสามารถนำมาประยุกต์เพื่อทำประโยชน์ต่อองค์กรได้อีกเพียบ

          และในฐานะที่ 1Moby เราเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาทุกธุรกิจที่อยากเริ่มใช้เทคโนโลยีให้เกิดรายได้ สามารถทักเข้ามาเพื่อปรึกษาเราได้เสมอค่ะ เราพร้อมช่วยคุณ Transformation ให้เหมาะสมกับธุรกิจแบบพิเศษเฉพาะตัว ไม่ต้องกลัวปวดหัว เพราะ 1Moby เราพร้อมทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายและไม่เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจอีกต่อไปค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
implementing-digital-transformation-in-crm
Digital Tranformation06 พฤษภาคม 2023

ตามให้ทันการตลาดปัจจุบัน ส่องการปรับใช้ Digital Transformation ในรูปแบบ CRM

          โลกเดี๋ยวนี้หมุนไวค่ะ โดยเฉพาะเรื่องราวเทรนด์การตลาดออนไลน์ที่เราต้องอัปเดทเป็นประจำสม่ำเสมอ และเช่นเคย 1Moby มีเรื่องราวกระแส Digital Transformation และ CRM คืออะไร และทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

3785210.jpg

 

ความหมายของ Digital Transformation

          Digital Transformation หมายถึง กระบวนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ และปรับใช้ในทุกภาคส่วน เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น และส่งมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้า บ้างก็เรียกย่อ ๆ ว่า DX ซึ่งเป็นคำกว้างที่นิยมพูดถึง และนำไปปรับใช้ในองค์กร

เทรนด์ CRM เพื่อธุรกิจ

          ก่อนจะนำพัฒนาระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า CRM มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Customer Relationship Management เรามาดูเทรนด์ CRM เพื่อธุรกิจกันก่อน

        ว่ากันว่า แนวโน้มในอนาคต จะหันมาใช้ CRM เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล ใช้เชื่อมต่อการขาย การตลาด และการบริการทราบข้อมูลที่ดีขึ้น ในการพัฒนาระบบเข้าถึงลูกค้า

          หรือจะเป็นเทรนด์ Social CRM ที่นับต่อจากนี้ธุรกิจจะใช้รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าบนสื่อออนไลน์ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          ใด ๆ นี้เป็นตัวอย่างเทรนด์ CRM เพื่อธุรกิจคร่าว ๆ ที่นำมาบอกเล่าให้เข้าใจเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำมาทำให้ธุรกิจดียิ่งขึ้น ช่วยให้ลูกค้าประทับใจอยู่กับธุรกิจยาวนาน

ปรับใช้ Digital Transformation กับ CRM

          หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ Digital Transformation และ CRM เรียบร้อย ต่อมาเรามาดูการปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจ เริ่มจากขั้นตอน ดังนี้

  1. สำรวจปัญหาที่องค์กรหรือธุรกิจมีว่าต้องการแก้ไขปัญหาอะไร 
  2. มองหาเทคโนโลยี มาช่วยแก้ปัญหาให้เหมาะสม
  3. ประยุกต์ใช้ พร้อมกับตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน
     

ตัวอย่าง  เจอปัญหาข้อมูลเยอะเกิน ไม่รู้จะวิเคราะห์ทำข้อมูล CRM จากอะไรก่อนดี การนำ Digital Transformation มาปรับใช้ จัดเรียงข้อมูลของลูกค้าเพื่อต่อยอดการทำกิจกรรมการตลาด วิเคราะห์ได้ง่าย และฉับไวมากขึ้นก็สามารถทำได้ หลังจากนั้นอย่าลืมตรวจสอบผลลัพธ์หลังจากปรับใช้ด้วยนะ

          เริ่มสนใจแล้วใช่ไหม? สนใจลงทุนพัฒนา Digital Transformation ให้กับองค์กร ผสานกับการทำ CRM สอบถาม 1Moby เราพร้อมเนรมิตแพลตฟอร์มหรือโซลูชันที่เป็นเกี่ยวข้องกับ Digital Transformation ซึ่งเป็นรูปแบบ CRM หรือ แบบอื่น ๆ ได้โดยคุณจะได้โซลูชันที่เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจหรือการขายของคุณ เพราะเราจะวิเคราะห์และออกแบบให้คุณโดยเฉพาะ รับประกันว่าไม่ซ้ำใครแน่นอน สามารถสอบถามได้ที่  www.1moby.com/  หรือโทร 02 798 6000

 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
what-is-digital-transformation-and-examples-of-related-businesses
Digital Tranformation06 พฤษภาคม 2023

Digital Transformation คืออะไร พร้อมตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

          ให้เล่าเรื่องราวธุรกิจ และการ Digital Transformation แบบเข้าใจง่ายที่สุด คงต้องบอกว่า วันนี้..ได้หมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก และสิ้นยุคปลาเร็วกินปลาช้า คงเหลือเพียงแค่ “ปลาที่ใช่” และรู้จักใช้ Digital Transformation ในการทำธุรกิจเท่านั้นที่จะอยู่รอดปลอดภัย..

          และบทความนี้เรานำรายละเอียด Digital Transformation คืออะไร พร้อมตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มาบอกเล่าให้ทำความเข้าใจเบื้องต้น เผื่อเป็นไอเดียให้กับนักธุรกิจ ผู้บริหารที่ต้องการเริ่มต้น Transform องค์กรในยุค 5.0 นี้

woman-touching-power-button-virtual-screen-smart-home-technology-1024x682 (1).jpeg

ความหมาย Digital Transformation คือ

          ก่อนเข้าเรื่องตัวอย่างธุรกิจที่ทำ Digital Transformation มาทำความรู้จักความหมายกันก่อน Digital Transformation ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ นั้นก็คือ Digital ดิจิทัลหรือเทคโนโลยี และ Transformation การเปลี่ยนแปลง  เมื่อนำมารวมกัน Digital Transformation คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาปรับใช้สร้างสิ่งใหม่มาปรับใช้ในทุกภาคส่วนขององค์กรอย่างมีกลยุทธ์ วัดผลลัพธ์ได้จริง บนเป้าหมายนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ดียิ่งกว่าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้ตามเทรนด์ของโลกยุคปัจจุบัน  จะบอกว่า การทำ Digital Transformation ไม่จำกัดเพียงแค่บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น แต่บริษัทเล็ก ๆ หรือธุรกิจไหน ๆ ก็ทำได้ทั้งนั้น และสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับ Digital Transformation สามารถอ่านบทความ Digital Transformation คืออะไร มีเทรนด์ไหนบ้างที่กำลังมาแรง ได้นะคะทีม 1Moby เขียนสรุปเอาไว้ให้แล้วค่ะ 

ทำ Digital Transformation แล้วได้ประโยชน์อะไร

          ทำไมสมัยนี้ ต้องทำธุรกิจแบบ Digital Transformation ให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ Customer Data โดยจะแยกเป็น 3 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแนวทาง Transform ได้แก่

ด้าน Customer Communication : การกระจายข้อมูล ข่าวสารและการโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร
ด้าน CRM : การเชื่อมต่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจ ระบบ Loyalty ต่าง ๆ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่จะนํามาชนะใจลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำให้มากขึ้น แบบไม่ต้องหาลูกค้าใหม่ ๆ ให้เหนื่อย 
ด้าน Customer Engagement : พัฒนาเทคโนโลยี และออกแบบโซลูชันที่สะท้อนถึงตัวตนขององค์กร ช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในแบรนด์มากยิ่ง ขึ้น เช่น Metaverse, Minigame หรือกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับแบรนด์ให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาว
          จากทั้ง 3 ข้อที่เล่ามา เพื่อให้เห็นภาพผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงแบบชัดเจนที่สุด เราไม่จำเป็นว่าจะต้อง Transform หรือทำตามทั้งหมด สามารถเลือกเริ่มต้นเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ หากไม่รู้จะเริ่มยังไงสามารถเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความการวาง Digital Transformation Roadmap ให้ไม่พัง ทำได้จริง

ตัวอย่าง : ธุรกิจที่ทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จ

Netflix

          เริ่มจาก Netflix เปลี่ยนจากผู้ส่ง DVDs ทางไปรษณีย์ สู่การเป็นผู้นำในการให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทนต์และปัจจุบันก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในการผลิต Original Content แบบเฉพาะตามรูปแบบของ Netflix เป็นการต่อยอด และ Tranform ด้าน Customer Communication ช่วยให้สื่อถึงมือผู้ใช้งานแบบ Self-service platform ได้ง่ายดายมากขึ้น ง่ายแบบเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาที่ลูกค้าต้องการ

สลากดิจิทัล เป๋าตัง

          ขยับกลับมาใกล้ตัวกันหน่อยกับกรณีศึกษา Tranform โดยภาครัฐ เปิดให้ซื้อสลากดิจิทัลหรือแอปพลิเคชัน GLO ที่อยู่บนแอปพลิเคชันเป๋าตังอย่าง จัดว่าเป็นการพัฒนาด้าน Customer Communication ได้อย่างเข้าถึง ช่วยให้การค้นหาเลขเด็ดกลายเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่พิมพ์ตัวเลขที่ต้องการ ในราคาใบละ 80 บาท
          การันตีเลยว่าการ Tranform ครั้งนี้ถูกใจคอหวยเป็นอย่างมากจากกระแสตอบรับในการซื้อสลากออนไลน์ที่มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ พร้อมกันนี้ในแอปยังมีทีเด็ด คือ ถูกหวยรางวัลปุ้บก็รับเงินเข้าบัญชีได้ทันทีแบบไม่ต้องไปดำเนินเรื่องให้เสียเวลา พร้อมกับฟีเจอร์ช่วยตรวจหวย สแกนสลากที่ซื้อจากข้างนอกมาเก็บไว้ก็ได้ และมีข้อมูลสถิติสลากย้อนหลังให้ดูด้วย เรียกได้ว่า มีครบถ้วนจริง ๆ

พิมรี่พายขายทุกอย่าง

         จะไม่พูดถึงเจ้าแม่ขายของออนไลน์ชื่อดังในเมืองไทยอย่าง “พิมรี่พาย” ที่มีผู้ติดตามหลักล้าน! หากให้หยิบยกตัวอย่างการ Tranform ให้มากกว่าการขายของออนไลน์ของพิมรี่พายที่น่าสนใจก็คือ การลงทุนเปลี่ยนแปลงระบบหลังบ้านและการจัดส่งครั้งใหญ่ให้แม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยการส่งลิงก์คอนเฟิร์มรายการที่สั่งซื้อให้ลูกค้าตรวจสอบก่อนโอนเงิน หลังจากกรอกข้อมูลครบก็จะมีข้อความส่งยืนยันเลขพัสดุของลูกค้า เพื่อจบปัญหาดราม่าส่งของไม่ครบ ส่งของช้า ฯลฯ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สยบดราม่าได้อย่างสิ้นเชิง  

อยากทำ Digital Transformation ต้องเริ่มยังไง?

          อ่านมาถึงตรงนี้น่าจะได้ไอเดีย และแรงบันดาลใจในการทำ Digital Transformation และคุณเองก็สามารถ Transform ธุรกิจของคุณได้ หากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงปรึกษาหรือให้ 1Moby ดูแลคุณ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
marketing-automation-many-people-may-misunderstand-about-chatbots
Marketing Automation22 พฤษภาคม 2023

Marketing Automation เรื่องที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Chatbot

          พูดถึงเรื่องราว Marketing Automation เป็นการตลาดแบบอัตโนมัติที่ใช้ซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจในยุค New Normal ที่ต้องรวดเร็วทันใจ สะดวกมากขึ้น ลดการใช้จำนวนคน ช่วยประหยัดแรง ไม่เหนื่อย แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี จะบอกว่าการใช้เครื่องมือ Marketing Automation อย่าง Chatbot และ AI Bot มาช่วยบริการและช่วยการขาย ตอบแชทพูดคุยกับลูกค้าก็เป็นอีกสิ่งที่นักการตลาด และนักธุรกิจหันมาใช้กันจำนวนมาก เพราะด้วยข้อดีคือ Chatbot และ AI Bot สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแบบ 24/7 จึงเป็นอะไรที่สร้างมูลค่าให้ธุรกิจได้ดีกว่า 

 

Chat นั้นสำคัญแค่ไหน?

          จากข้อมูลพบว่า ลูกค้ายุค New Normal ชอบพูดคุยสอบถาม ยิ่งธุรกิจตอบแชท 
(ว่าที่) ลูกค้าได้ไวเท่าไหร่ก็ปิดยอดขายได้เยอะเท่านั้น ดังนั้น การนำ Marketing Automation อย่าง Chatbot และ AI Bot มาใช้ช่วยเสริมพลังให้ธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เสียโอกาสปิดยอดขายนั้นเอง

          การันตีว่าระบบแชทพูดคุยในโลกออนไลน์สำคัญจริง ๆ นะ อ้างอิงจากข้อมุลล่าสุด Facebook ทำการศึกษา Conversational Commerce: The nextgen of E-Com"เผยเทรนด์การช้อปปิงแห่งอนาคตในไทยบอกว่า

  • คนไทยซื้อของออนไลน์มากขึ้น ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z และกลุ่ม Millennials 8 ใน 10 คน ชอบจะติดต่อร้านค้าผ่านแอปพลิเคชันส่งข้อความ
  • ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 4 ใน 5 คนบอกว่า รู้สึกใกล้ชิดกับธุรกิจมากขึ้นหลังจากการแชทออนไลน์
  • ในช่วงก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ 83% ของลูกค้าส่งข้อความหาร้านค้าหรือธุรกิจก่อน 
  • เกือบ 70% ของลูกค้า ชอบส่งข้อความหาร้านค้าในช่วงซื้อสินค้า 
  • ลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้วประมาณ 58% มักจะส่งข้อความมาพูดคุยสอบถามในแชท

          อ้างอิงจากสถิติดังกล่าว ทำให้เราเห็นว่า การทักแชทกลายมาเป็นอีกฮีโร่ช่วยสร้างความมั่นใจ และเพิ่มประสบการณ์การช้อปปิงแบบไร้รอยต่อ โดยเฉพาะการนำ Marketing Automation อย่าง Chatbot กับ AI Bot มาใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับธุรกิจเรา
 

 

Chatbot กับ AI Bot มันไม่เหมือนกัน
          การนำ Marketing Automation ในการตอบแชทลูกค้า เพราะหลายคนคาดหวังว่า Chatbot จะต้องทำได้แบบเดียวกับ AI นั้นเป็นการเข้าใจผิดเป็นอย่างมากนะ 
           เนื่องจาก Chat bot กับ AI Bot ไม่เหมือนกัน แม้ระบบ Marketing Automation ทั้งสองจะถูกสร้างมาเพื่อเลียนแบบการพูดคุยตามสไตล์ของมนุษย์ก็ตาม แต่ก็ไม่เหมือนกันแต่อย่างใด เพราะ Chat Bot เป็นระบบแชทที่คิดเองไม่ได้ แต่ AI Bot นั้นคิดเองได้และตอบคำถามได้มากกว่าเยอะ สร้างประสบการณ์เสมือนจริงได้มากกว่า แต่ก็มีต้นทุนการลงทุนค่อนข้างสูง


Chatbot คืออะไร
          เรามาเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับ Marketing Automation อย่าง Chatbot คือ การที่เราตั้งระบบกำหนดคำถามให้เลือก ถามตอบคำถามพบบ่อย ตอบคำถามพื้นฐาน ใช้ลดปัญหาการตอบคำถามหรือการประสานงานโดยไม่จำเป็น ซึ่งระบบ Chatbot จะตอบตามที่ระบบตั้งไว้เท่านั้น เป็นระบบที่ไม่สามารถคิดประมวลผลเองได้ จะต้องถูกกำหนดโดยมนุษย์ ส่วนใหญ่ลูกค้าจะรู้ว่านี้คือ Chatbot อย่างเช่น แชท Facebook มีไว้กดสั่งสินค้า ตอบคำถามลูกค้า หลาย ๆ ธุรกิจต้องการแค่นี้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องเสียงบทำถึงขั้น AI Bot ก็ได้


AI Bot คืออะไร 

          ชื่อเต็ม ๆ ของ AI Bot คือ Artificial Intelligent Bot บางครั้ง บางคนก็เรียกว่า Intelligent Bot จัดว่าเป็นปัญญาประดิษฐ์ เราสามารถพิมพ์คำไหน แบบไหนก็ได้ ระบบจะทำการกรองและคำโต้กลับได้อย่างอิสระและชาญฉลาดกว่า Chatbot ทั้งนี้ ธุรกิจจะต้องสร้างบทสนทนา Dialogue Flow ให้ AI Bot นะ

          เนื่องจาก AI Bot เป็นบอทอัจฉริยะพัฒนาด้วยภาษาแบบ Natural Language Processing (NLP) จำลองบทสนทนาของมนุษย์แบบเราที่พูดคุยกันในชีวิตประจำวันได้อย่างแม่นยำสุด ๆ ถึงขั้นที่บางสำนักบอกว่า AI Bot นี่คือบริการในโลกอนาคตเชียวล่ะ

 

เทียบระหว่าง Chatbot กับ AI bot

Detail

Marketing Automation 

Chatbot

AI Bot

สามารถตอบแชทลูกค้าได้ทุกวันตลอด 24/7

ใช้ภาษาตอบแชทได้อิสระเป็นธรรมชาติเหมือนคนคุยกันจริงๆ 


          เข้าใจเพิ่มมากขึ้นแล้วใช่ไหมว่า AI Bot ไม่ใช่ Chatbot ทั้งสองอย่างไม่เหมือนกัน ดังนั้น รู้ก่อนจะได้เลือกถูกว่าธุรกิจเราจะใช้อะไรถึงจะเหมาะสม แม้ต้นทุนการลงทุนจะสูงกว่าการใช้แรงงานคน แต่ Chatbot และ AI Bot นั้นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภายใต้การดูแลควบคุมของคนเราอยู่ดี เอาเป็นว่า ถ้าเลือกไม่ถูกปรึกษา 1Moby ได้ค่ะ เราพร้อมดูแลการทำการตลาดออนไลน์ที่วัดผลลัพธ์ได้จริงคุ้มค่าแน่นอน 
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
Powerful-Marketing-Communication-Tips
Communication22 พฤษภาคม 2023

เคล็ดลับการสื่อสารแบบ Marketing Communication ที่มีประสิทธิภาพ

“การสื่อสารที่ดีทำให้ธุรกิจมีชัยไปกว่าครึ่ง” เพราะคนเราจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้การสื่อสารเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต และถ้าต้องการทำการตลาดให้เข้าถึงผู้คนให้มากที่สุด หรือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Target) ที่เราต้องการมากที่สุด เราก็จะต้องใส่ใจกับการทำ Marketing Communication หรือการสื่อสารการตลาดอย่างเข้าใจ เรามีเคล็ดลับมาบอกเล่าให้ฟังค่ะ

Marketing Communication คืออะไร?

แปลกันตรงตัว Marketing Communication คือ การสื่อสารการตลาด หรือบางที่ก็ชอบเรียกแบบย่อว่า Marcom (อ่านว่า มาร์คอม) ถามว่า Marketing Communication มีไว้ทำไม ก็อาจจะสรุปรวมยอดได้ว่า 

  • Marcom มีไว้สื่อสารธุรกิจ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างการรับรู้ สร้างการเข้าถึง โดยมีจุดเป้าหมายคือกระตุ้นการขาย เพิ่มความจงรักภัคดีให้กับแบรนด์ โดยรวมทั้งการตลาดทางตรง การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขายแบบโปรโมชั่น ล้วนแล้วแต่อยู่ในคำ ๆ นี้ Marketing Communication
  • ส่วนใหญ่ Marcom จะนิยมการสื่อสารกแบบสองทาง (Two-way Communication) เพื่อโน้มน้าวใจให้ลูกค้ามาอุดหนุนสินค้าและบริการของเรานั้นเอง

1. สื่อสารผ่านข้อความ

          เคยได้ยินคำว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจไหมคะ” เช่นกันค่ะ “การสื่อสารก็เป็นหัวใจของ Marcomm เหมือนกัน” เพราะ Marketing Communication คือการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ก่อนจะลุยทำ Marketing Communication แบบเต็มตัวสิ่งที่อยากให้เข้าใจเบื้องต้น เตรียมตัวก่อน เราควรมี Key Message ที่ชัดเจน และมี Mood & Tone ของการสื่อสารผ่านข้อความ 

 

          เพื่อให้การสื่อสารผ่านข้อความทรงพลัง ไม่ควรเปลี่ยน Key Message ไปมาบ่อย ๆ อาจจะเน้นมองหาใช้คำพูดที่น่าสนใจ หรือโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม เพื่อเกิดการจดจำเราผ่านการอ่าน หรือการพบเห็นนั้นเองค่ะ และการสื่อสารผ่านข้อความ Key Message นั้นจะต้องสอดคล้องกับความเป็นแบรนด์ รวมทั้งตอบโจทย์ของบริษัทด้วยนะ 

 

          ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการตั้งคำถามพื้นฐานค่ะ “What, Who, Why?” ธุรกิจหรือองค์กรของเราทำอะไร ? เราเป็นใคร ? และเรามีไว้ทำไม ? หลังจากตอบครบถ้วนก็กลับไปดูเป้าหมายของบริษัท วัตถุประสงค์ พร้อมกับกลยุทธ์ทางการตลาด และดูผลิตภัณฑ์/บริการของเราว่า จะต้องการนำเสนอแบบไหน ต้องการข้อความ คำพูด หรือแนวคิดที่แตกต่างจากธุรกิจคู่แข่งอย่างไร  

หลักการคิด Key Message ที่ดี

  • Key Message ต้องกระชับ ชัดเจน ไม่เวิ่นเว้อ
  • Key Message ต้องง่าย ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการจดจำ
  • Key Message สร้างความแตกต่าง
  • Key Message ช่วยโน้มน้าวใจได้ในไม่กี่คำ
  • Key Message เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ตรงกับความต้องการ ช่วยแก้ปัญหา มีประโยชน์ ฯลฯ
  • Key Message สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่สร้างความกังวลใจ

 

           แต่ถ้าหากคิดไม่ออกว่า… จะเริ่มสื่อสารอย่างไร ด้วยถ้อยคำแบบไหน แนะนำให้ลองวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงมือทำ และถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ปรึกษา Magnus ได้นะคะ 

 

2. สื่อสารผ่านการออกแบบ 

          การมี Key Message ปัง ๆ อย่างเดียวนั้นไม่พอ การทำ Marketing Communication พังแน่ หากการออกแบบไม่ได้เรื่อง เพราะภาพหนึ่งภาพแทนคำเป็นล้านคำ ดังนั้น เราต้องกลับมาใส่ใจกับออกแบบให้ชัดเจนตามที่เราต้องการสื่อสารค่ะ และจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานในการสร้างคาแรคเตอร์ให้ชัดเจนตรงกับความเป็นแบรนด์ธุรกิจ

 

          เพื่อให้โดดเด่นในยุคที่การแข่งขันสูงปริ๊ด การสื่อสารที่ดี การออกแบบก็สำคัญมาก ๆ นะคะ เช่น การออกแบบภาพโฆษณาบน FB หรือการออกแบบแบนเนอร์ GDN รวมทั้งการตัดต่อ VDO Content ก็ล้วนแล้วแต่ช่วยให้การสื่อสารทรงพลังมากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มการจดจำได้เยอะเลยนะคะ 

3. รับฟังฟีคแบคต่าง ๆ 

          การทำธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน เพื่ออยู่ทนในวิกฤต และอยู่รอดในทุกสถานการณ์สำคัญสุด Marketing Communication ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น เราจะไม่แค่สื่อสารออกไปอย่างเดียวเท่านั้น เราจะต้องหมั่นเก็บผลการตอบรับ (Feedback)อยู่เสมอ ต้องคอยสอดส่อง และเก็บข้อมูล คำติชมต่าง ๆ ที่ได้รับ เพื่อนำมาปรับใช้ต่อไป ยิ่งการทำการตลาดออนไลน์ในยุคสมัยนี้การรับฟีคแบคต่าง ๆ ไม่ยากแล้วค่ะ เพราะมีเครื่องมือ Social listening เอาไว้คอยดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ ว่าสิ่งที่สื่อสารออกไปนั้น ได้รับผลลัพธ์เป็นอย่างไร อย่างเช่น ThaiBulkSMS เองก็เช่นเดียวกัน เรามีการเก็บฟีคแบคต่าง ๆ และนำมาปรับใช้หรือปรับปรุงบริการเช่นเดียวกัน

 

          หากทำ Marketing Communication ได้รับฟีคแบคดีคำวิจารณ์เชิงบวกเราก็นำมาต่อยอดได้ หรือถ้าเจอกับคำวิจารณ์เชิงลบก็อาจจะปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้การทำ Marketing Communication ดีที่สุด เราจะต้องเก็บฟีคแบคอย่างเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง เพื่อจะได้พัฒนาต่อยอดการสื่อสารการตลาดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนั้นเองค่ะ 

 

อยากเริ่มทำ Marketing Communication แล้วใช่ไหมคะ?

การวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารที่ทรงพลังก็ทำให้เข้าใกล้ความสำเร็จได้ เราพร้อมช่วยเหลือให้คุณจบทุกปัญหาที่เคยเจอ พร้อมช่วยให้ธุรกิจคุณสำเร็จได้มากกว่า ปรึกษา 1Moby ได้นะคะ เรามีผู้ช่วยด้านการสื่อสารอย่างเช่น ThaiBulkSMS หรือ MBOX ที่ตอบโจทย์การทำงานของคุณแน่นอนค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
Marketing-Communications-Strategy-for-small-business
Communication22 พฤษภาคม 2023

เผยกลยุทธ์ Marketing Communication สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

          หมดยุคการทำการตลาดแบบขี่ช้างจับตั๊กแตนกันแล้ว ในโลกออนไลน์วันนี้ธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องตามธุรกิจขนาดใหญ่อีกต่อไป โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ Marketing Communication ที่ธุรกิจขนาดเล็กทำได้เองแบบไม่ต้องเลียนแบบใคร ด้วยความที่กลยุทธ์ดีก็ทำให้ธุรกิจไปได้ไกลและช่วยให้แผนธุรกิจชัดเจน โดยเฉพาะการวางแผนการสื่อสารการตลาดหรือที่เรียกทับศัพท์ว่า Marketing Communication

          หลายคนอาจจะเข้าใจว่า การทำ Marketing Communication นั้นมีเฉพาะการซื้อ หรือลงโฆษณา (Advertising) เท่านั้น เราอยากให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า การโฆษณาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการทำการสื่อสารการตลาดเพียงเท่านั้น

          และด้วยความที่ Marketing Communication ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย เดี๋ยวบทความนี้จะบอกเล่าให้เข้าใจนะคะ ว่าเราจะวางกลยุทธ์อะไรยังไงบ้างสำหรับธุรกิจขนาดเล็กค่ะ


1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด

          เคยได้ยินคำว่า “One size doesn't fit all.” ไหมคะ กลยุทธ์สื่อสารการตลาดของธุรกิจขนาดเล็กก็เช่นกันค่ะ เราไม่จำเป็นต้องแข่งกับทุกคนในตลาด ลองเปลี่ยนมาสื่อสารกลุ่มลูกค้าที่ใช่ หรือกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Niche Customers) เจาะจงมากขึ้นก็ช่วยให้การสื่อสารการตลาดของเราทรงพลัง สร้างยอดขายได้จริง และไม่เปลืองงบประมาณเยอะ

          อย่างไรก็ดี การมองหาลูกค้าอย่างเข้าใจ พร้อมกับวางกลยุทธ์สื่อสารด้วยโปรดักส์และบริการของเราโดยตรง เป็นสิ่งที่ธุรกิจขนาดเล็กต้องเริ่มต้นให้ไว โดยสตาร์ทจากการทำข้อมูลสรุปหาลูกค้าตัวจริงให้ได้ เริ่มต้นธุรกิจให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีด้วย Customer Journey และมองหา Persona ของผู้ซื้อสินค้า เมื่อเราเข้าใจลูกค้าก็จะสามารถส่งต่อคอนเทนต์ โฆษณา หรือกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ ได้ตรงกับที่ลูกค้ากำลังมองหาได้อย่างถูกที่ถูกเวลา ช่วยเพิ่ม Conversion ได้อย่างยั่งยืน
เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายอย่างตรงไปตรงมา เมื่อเราเข้าใจที่จะสื่อสารกับลูกค้า ยอดขายก็จะมาเองค่ะ


2.ต้องรู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร 

          ไม่อยากให้โลภค่ะ ก่อนทำ Marketing Communication จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า เรากำลังต้องการอะไร อยากทำอะไร มีอะไรที่เราต้องการหรือเปล่า จะต้องตอบให้ชัดเจนก่อนวางแผนกลยุทธ์ Marketing Communication นะคะ เช่น


          ต้องการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) ด้วยการส่งต่อโฆษณา หรือโพสต์คอนเทนต์ที่ถูกใจให้กับกลุ่มลูกค้า 
ต้องการสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ก็อาจจะมองหากิจกรรมให้มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ 
ต้องการสร้างยอดขาย (Conversions) เป็นหลักก็อาจจะจัดโปรโมชั่น หรือส่วนลดมาเพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า

          โดยการกำหนดเป้าหมายดังกล่าวนั้น ทำให้เราไม่หลงทาง และช่วยให้ให้การสื่อสารชัดเจนไม่ซับซ้อน ตรงประเด็น เข้าใจไม่ยากเกินไปนั้นเอง

 


3.สร้างแบรนด์ให้ชัดเจน และเป็นที่ไว้วางใจ

          การทำ Marketing Communication นอกจากการสร้างแบรนด์ให้ชัดเจน มีเอกลักษณ์ ปั้นโลโก้ที่เหมาะสม สโลแกนที่ใช่ พร้อมกับการวางวิสัยทัศน์ พันธกิจที่เหมาะสม ตามด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าไว้วางใจก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ค่ะ ซึ่งจุดนี้เองอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากพนักงาน และลูกจ้างที่จะบริการลูกค้าให้ดีที่สุด และมีแนวทางที่เหมาะสม สร้างความประทับใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ หรือซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง เพื่อธุรกิจขนาดเล็ก ไม่ต้องเหนื่อยหาลูกค้าใหม่ ๆ รวมทั้งสร้างกลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีคุณภาพต่อไปในระยะยาว 

 


4.สร้างตัวตนให้เป็นที่จดจำให้ได้

           หลังจากเรารู้จักกลุ่มลูกค้า รู้เป้าหมาย สร้างแบรนด์ให้ชัดเจนแล้ว กลยุทธ์สร้างการจดจำก็เป็นสิ่งสำคัญนะคะ ยิ่งถ้าเราทำธุรกิจมีคู่แข่งจำนวนมาก การสร้างตัวตนให้คนจำได้ว่า เราเป็นใคร ทำอะไร มีบริการ หรือสินค้าอะไร เป็นอีกกลยุทธ์ Marketing Communication ที่ต้องลงมือทำ ยกตัวอย่างการสื่อสารการตลาดของธุรกิจขนาดเล็กที่ปังและน่าสนใจ เช่น ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรแอ็กกี้โฮม (@aggiehomeonline) จากอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์


          แอ็กกี้โฮม  กวาดกระแสไวรัลโกยยอดวิวหลักล้านบนแพลตฟอร์ม TikTok และก็สร้างเสียงหัวเราะได้ด้วยการรีวิวสินค้าแบบไม่เหมือนใคร เน้นพูดน้อย แอคติ้งหน้านิ่ง และเน้นการจดจำได้ด้วยคาแรกเตอร์ผู้ชายตาโต ๆ เน้นฮาไว้ก่อน ก็พรีเซนต์ขายของบวกกับความครีเอทีฟให้เข้ากับกระแส ช่วยสร้างความจดจำได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียวล่ะ 


5.ลงมือทำ วัดผล และปรับปรุง

          ในข้อนี้อาจจะไม่ใช้กลยุทธ์ Marketing Communication แบบโดยตรงค่ะ แต่ะเป็นขั้นตอนสำคัญ หากเราวางแผนกลยุทธ์อย่างเดียวการสื่อสารที่ดีก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น หลังจากวางแผนกลยุทธ์เสร็จ เราจะต้องลงมือทำ วัดผลลัพธ์ที่ได้แบบไม่หลอกตัวเอง และปรับปรุงมองหาสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้กลยุทธ์สดใหม่ตลอดเวลานั้นเองค่ะ 


สรุป Marketing Communication
ทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์ Marketing Communication การสื่อสารการตลาดแบบน้อยแต่มากให้ธุรกิจขนาดเล็กนะคะ หากต้องการผู้ช่วยคอยดูแลธุรกิจคุณ ปรึกษา Magnus ได้เสมอนะคะ พวกเรายินดีให้คำปรึกษาวางแผนการตลาดแบบครบวงจร วัดผลลัพธ์ได้จริง แบบคุ้มค่าที่สุด
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
What-is-Cybersecurity-and-Why-Every-Business-Needs-It
Technology22 พฤษภาคม 2023

Cybersecurity คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจจำเป็นต้องมี

          เพราะอะไร ๆ ในยุคนี้ก็พึ่งพาออนไลน์ ก้าวเข้าสู่ดิจิทัลการทำธุรกิจจำเป็นต้องมีแอปพลิเคชัน มีเว็บไซต์ มีระบบคลาวด์ (Clouds) ไว้เก็บข้อมูล รวมทั้งใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงไม่แปลกที่ธุรกิจเริ่มให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของบริษัทฯ หรือปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร อีเมล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ฯลฯ

          เมื่อโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ยิ่งทำให้ Cybersecurity กำลังเป็นเรื่องราวที่ผู้คนสนใจ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จากข่าวคราว PDPA หรือพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทำให้หลายบริษัทเริ่มตื่นตัว ป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ารั่วไหล บริษัทต่าง ๆ ต้องเสริมเกราะเพิ่มความปลอดภัยในโลกออนไลน์ให้มากขึ้น


ถามว่า Cybersecurity คืออะไรกันแน่

          ให้เล่าแบบเข้าใจง่าย Cybersecurity (ไซเบอร์ซีเคียวริตี้) บ้างก็เขียนแบบเว้นวรรคเป็น Cyber Security โดยทั้งหมดนี้แปลตรงตัว หมายถึง ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาป้องกันความเสี่ยงในโลกออนไลน์ รวมทั้งป้องกันแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลสำคัญ เพื่อไม่ให้ข้อมูสำคัญถูกเรียกค่าไถ่ หรือเจอกับอาชญากรรมไซเบอร์

         หากให้อธิบายให้เห็นภาพมากขึ้นว่า Cybersecurity มีไว้เซฟ Cyberspace ป้องกันภัยไซเบอร์ที่ใกล้ตัวเรา มีอะไรบ้างที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง เช่น Malware เรียกค่าไถ่ ครอบคลุมไปถึง Virus, Worms และ Trojans Phishing อีเมลที่แฝงมาตามลิงก์ ใน E-mail, SMS หรือช่องทาง Social Media ต่าง ๆ หากคลิกไปปั้บข้อมูลก็จะหลุดหายไปทันที
Website application attacks การโจมตีเว็บไซต์

          อย่างไรก็ดี ที่เล่ามาข้างต้นเป็นเพียงแค่ตัวอย่างภัยร้ายในโลกออนไลน์ที่พร้อมจู่โจมเราเท่านั้น เพราะยังมีรายละเอียดอีกมากมายเกี่ยวกับ Cybersecurity

          การทำ Cybersecurity มีจุดประสงค์หลัก เพื่อความปลอดภัย รวมทั้งสร้างความไว้วางใจในระยะยาว และไม่สูญเสียข้อมูล รวมทั้งเงินทองให้กับแฮกเกอร์โดยไม่จำเป็น จึงเป็นเหตุให้หลายบริษัทเริ่มลงมือทำ Cybersecurity อย่างจริงจัง ซึ่งจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอด เพื่อป้องกันและประเมินความเสี่ยง

          แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับว่า การว่าจ้างคนตำแหน่ง Cybersecurity นั้นมีค่าแรงค่อนข้างสูงทำให้บริษัทเล็ก ๆ แบบ SME อาจคิดหนักว่าจะจ้างมาทำประจำก็อาจจะเกินงบ ดังนั้น การมองหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีมาคอยดูแลก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ


อยากเริ่มทำ Cybersecurity เริ่มยังไง?

         ก่อนเริ่มทำแอฟหรือเว็บไซต์ควรทำ Cybersecurity ด้วยเลยหรือแม้แต่เว็บที่มีอยู่แล้วก็ควรเสริมเกราะให้แกร่ง ป้องกันภัยไว้ดีกว่าแก้ทีหลัง เหมือนกับคำที่ว่า อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอก

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
What-is-the-difference-between-AI-and-Automation
Marketing Automation22 พฤษภาคม 2023

ระหว่าง AI และ Automation แตกต่างกันยังไง??

          หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงระบบ AI และ Automation เมื่อเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ให้ความสำคัญกับ AI เป็นอย่างมาก เลยทำให้เรามักจะจำระบบ Automation ว่าเป็น AI เป็นอันเดียวกัน ? เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน ถามว่ามีอะไรบ้าง รวมถึงเลือกว่าอะไรที่ธุรกิจของคุณกำลังสนใจนำมาปรับใช้ได้จริง ตรงกับใจที่ต้องการมากที่สุด และเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกเอามาช่วยงาน เดี๋ยว 1Moby จะเขียนอธิบายให้ละเอียดในบทความนี้

 

AI คืออะไร

          คำว่า AI ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence เรียกชื่อไทย AI คือ ปัญญาประดิษฐ์ที่มีฟังก์ชั่นเรียนรู้ ทำความเข้าใจ มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และช่วยตัดสินใจ รวมทั้งทำนายผลลัพธ์ได้ซึ่งคำนวณจากประสบการณ์เป็นหลัก

          ส่วนใหญ่จะเน้นใช้เพื่อเปลี่ยนให้ชีวิตง่ายขึ้น หากนึกไม่ออกว่า AI คืออะไร ก็มีตัวอย่างให้ทำความเข้าใจ เช่น ผู้ช่วยเสมือนจริงอย่าง Siri หรือ Alexa มาช่วยตอบคำถามและโต้ตอบได้ราวกับเป็นคนจริง ๆ และถ้าให้อินเข้ามาอีก AI ก็นำมาใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือรถยนต์ไร้คนขับด้วย

          หรือจะให้ยกตัวอย่างให้เข้าใจว่าองค์กรไหนใช้ AI อีกบ้างก็ต้องเล่าถึง Netfilx และ Spotify ที่พัฒนาระบบ AI มาแนะนำหนังโปรด รวมทั้งเพลงที่คนชอบฟังให้ด้วย โดย AI จะเรียนรู้ว่า คน ๆ นั้นชอบอะไรและก็นำเสนอสิ่งที่ตรงใจให้กับ User เองแบบไม่ต้องคิดมาก แถมยังช่วยดึงคนให้อยู่กับแพลตฟอร์มได้นาน และได้ใจคนใช้งานไปโดยปริยาย

 

แล้ว Automation คืออะไร?

          ในส่วน  Automation คือ ระบบการทำงานอัตโนมัติ ที่มีโปรแกรมตั้งเอาไว้อยู่แล้ว เน้นเอาไว้คุมงาน สั่งงาน และกำหนดคำสั่งเอาไว้ จะไม่สามารถคิดหรือวิเคราะห์สิ่งใหม่ ๆ ได้เทียบเท่ากับ AI รวมทั้งต้องมีมนุษย์คอยดูแลควบคุมทำงาน จึงเหมาะกับการทำระบบโทรศัพท์ตอบกลับอัตโนมัติ ระบบรดน้ำอัตโนมัติ หรือจะเอามาช่วยการตลาดอัตโนมัติเพื่อเอามาช่วยทำงานด้านการตลาดก็ได้เช่นกัน

          ถ้าให้สรุปอีกครั้ง ว่าความต่างเป็นยังไง.. AI จะทำงานเองตามระบบโดยจะตัดสินทำสิ่งที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดซึ่งจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แต่ส่วน Automation จะทำงานตามคำสั่งของเราที่ระบุลงไปนั้นเองล่ะ


เทียบจุดเด่น/ข้อดี ระหว่าง AI และ Automation

          เพราะทุกอย่างมีต้นทุน การทำความเข้าใจข้อดีก่อนลงทุนก็ลงมือทำก็จะทำให้ธุรกิจได้รับสิ่งที่คุ้มค่า หากจะให้เล่าและแนะนำให้เลือกระหว่าง AI หรือ Automation คงต้องบอกว่าทั้ง AI และ Automation มีข้อดีในตัวเอง จึงต้องเลือกให้เหมาะกับงานที่เราต้องการให้ระบบเหล่านี้มาช่วยทำ

AI

Automation

  • เรียนรู้ข้อมูลทั้งหมด และเรียนรู้ประสบการณ์ตัดสินใจทำงาน 
  • วิเคราะห์สถานการณ์ สามารถเปรียบเทียบได้ และหาข้อสรุปได้
  • เหมาะกับงานที่ไม่ซ้ำซาก และเน้นการพัฒนา เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 
  • ต้องตั้งค่าการทำงานล่วงหน้าเป็นเหมือนเครื่องจักรทำงานให้มนุษย์
  • ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หรือพัฒนาเพิ่มเติม
  • เหมาะกับงานซ้ำ ๆ ต้องทำตามคำสั่งและกฎเดิม ๆ


           จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีหรือนวัฒนกรรม ที่เราพบเห็นก็นำ AI และ Automation มาใช้บ้างแล้ว เพื่อลดความซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น 


อยากทำ AI หรืออยากเริ่ม Automation

          และถ้าคุณมีแผนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาองค์กร และบริษัท ก็สามารถปรึกษาเราได้เสมอ เพราะ 1moby เป็น Technology Solution Company บริษัทไอทีในไทย ที่จะทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายและไม่เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจ เราพร้อมพาธุรกิจก้าวข้ามขีดจำกัด ด้วย Solution ที่เราเชี่ยวชาญหลากหลายและครอบคลุมทั้ง Communication Solution, Business Solution และ Data Solution เราพร้อมให้คำปรึกษาคุณค่ะ
 

 

 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
6-steps-of-website-design
Website & Application22 พฤษภาคม 2023

6 ขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์

          เพราะการมีเว็บไซต์นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือ และเว็บไซต์เปรียบเสมือนเป็นหน้าร้านออนไลน์ที่เปิดให้ลูกค้าได้เข้าชมตลอดเวลาแบบ 24/7 ทำให้หลายธุรกิจเริ่มกลับมาสนใจการเปิดเว็บไซต์ให้ธุรกิจและมองหาขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์กันมากขึ้น ถามว่าอยากออกแบบเว็บไซต์จะต้องเริ่มยังไง บทความนี้มีคำตอบให้คุณ  

1.กำหนดคอนเซปต์ (Concept) และคอนเทนต์ (Content) ให้ชัดเจน 

          เว็บไซต์ที่ดีจะต้องมีคอนเซปต์ที่ใช่ และคอนเทนต์ที่เหมาะสม คนทำเว็บไซต์จะต้องรู้ว่าเว็บไซต์ที่ทำจะมีคอนเซปต์และมีคอนเทนต์อะไร สิ่งนี้จะต้องรู้และกำหนดขึ้นมาก่อนที่จะออกแบบเว็บไซต์ เพื่อให้การออกแบบไม่หลุดกรอบและตรงเป้าหมายที่สุด เช่น มีคอนเซปต์ทำเว็บไซต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อเก็บรายชื่อลูกค้า (Lead Generation) ก็จะต้องวางให้ชัดว่าต้องมีคอนเทนต์อธิบายโปรดักส์สินค้าหรือ บริการให้ชัดเจน พร้อมกับช่องกรอกข้อมูลเพื่อติดต่อกลับลูกค้าบนเว็บไซต์ 

2.กำหนดโครงสร้าง (Sitemap) 

          เมื่อวางคอนเซปต์และคอนเทนต์ได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำก่อนออกแบบเว็บไซต์ก็คือการกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Sitemap ให้ตรงกับสิ่งที่วางเอาไว้ ด้วยการร่างหมวดเว็บไซต์ที่ต้องการทำ เรียงลำดับความสำคัญจากหัวข้อหลักสู่หัวข้อย่อย เช่น Header, Body, Footer ของเว็บไซต์ โดยจะต้องวางแผนให้ดี ไม่ควรทำให้เว็บไซต์สับสน ควรแยกลิงก์ให้ชัดเจนว่าต้องการทำเว็บไซต์เพื่ออะไรเป็นหลัก

3.เตรียมชื่อจดโดเมนเนม (Domain Name) ให้เว็บไซต์
          กรณีสร้างเว็บไซต์ใหม่ การเตรียมชื่อโดเมนเนมให้เว็บไซต์ หรือชื่อเว็บไซต์ก็เป็นอีกข้อสำคัญที่อยากเล่าให้ฟังก่อนจะไปออกแบบเว็บไซต์ ชื่อเว็บจะต้องไม่ยาวเกิน ไม่ซ้ำกับใคร และก็ตรงกับธุรกิจของเรา โดยจะต้องคิดให้ดีก่อนจดโดเมนเนม 

4.วางดีไซน์ (UX/UI Design) ให้ตรงกับที่ต้องการ

           หลังจากกำหนดโครงสร้างครบ เราก็วางแผนออกแบบเว็บไซต์ด้วยดีไซน์ที่ต้องการ ตรงกับคอนเซปต์ที่วางไว้ เพื่อสร้างการรับรู้ที่ทรงพลัง จะต้องออกแบบให้เว็บไซต์ต้องตรงกับคาแรคเตอร์แบรนด์ด้วย รวมทั้งออกแบบดีไซน์เว็บ UX/UI Design ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการ มีความสวยงาม เข้าใจได้ง่าย ใช้งานได้สะดวก เหมาะสมไม่มากน้อยเกินไป 

5.เลือกวิธีการสร้างเว็บไซต์ที่สะดวก

            อันนี้เป็นขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์ที่สำคัญมาก เพราะว่าเดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดขึ้นมาเองก็ได้ จะเลือกใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป สร้างด้วย CMS (Content Management System) เช่น WIX, Wordpress, Jimdo, Blogger.com ฯลฯ ซึ่งตรงนี้จะต้องเลือกจากความถนัดและงบประมาณที่มีร่วมด้วย

6.ดีไซน์เว็บให้ Responsive Web Design

          การทำให้เว็บไซต์ Responsive Web Design จัดว่าเป็นอีกหัวข้อสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ รองรับหน้าจอทุกอย่างทั้ง Desktop Site และ Mobile Site โดยคนที่เคยมีเว็บก่อนหน้านี้ก็สามารถปรับให้เว็บไซต์ Responsive ได้เช่นกันแต่อาจจะต้องอาศัยการเขียนโค้ดเพิ่มเติมและต้องระวังการซ้ำซ้อนของโค้ดด้วยนะ ซึ่งการทำเว็บให้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นก็มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และจะต้องใช้ทีมงานผู้เชี่ยวชาญทั้ง Web Developer, Web Designer และแผนกอื่น ๆ ในการทำงานออกแบบเว็บไซต์ร่วมกัน ไม่เพียงเท่านี้การออกแบบเว็บไซต์นั้นยังขึ้นอยู่กับงบประมาณในการทำเว็บไซต์ด้วยล่ะ  

 

          ทำความเข้าใจขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์แบบฉบับเบื้องต้นครบจบแล้ว และถ้าสนใจอยากทำเว็บไซต์เพื่อธุรกิจแต่ไม่อยากทำเอง ลองปรึกษาทีมงาน 1Moby ช่วยคุณเปลี่ยนทุกไอเดีย ให้กลายเป็นจริง เราพร้อมให้คำปรึกษา

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
7-steps-to-plan-a-Marketing-Communication-Plan-for-a-brand-or-product
Communication22 พฤษภาคม 2023

7 ขั้นตอนในการวางแผน Marketing Communication Plan ให้กับแบรนด์หรือสินค้า

          เพราะมนุษย์เราจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา และการสื่อสารนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างการเข้าถึงให้กับธุรกิจของเรา เพื่อการสื่อสารดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจะต้องมีการวางแผน หรือที่เรียกว่า Marketing Communication Plan ก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้ขั้นตอนการทำให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้การสื่อสารการตลาดหลงทางและพลาดเป้า โดยเราได้สรุป 7 ขั้นตอนการวางแผนการตลาดมาให้ตามนี้ 

1.วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ

สำหรับขั้นตอนแรก เหมาะกับคนที่ไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไร หรือไม่รู้จะทำอะไรใน Marketing Communication Plan ขอแนะนำว่า ก่อนจะลงมือวางแผน Marketing Communication Plan ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจว่าตอนนี้เป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง

 

  • ชื่อเสียงของธุรกิจเป็นอย่างไร

  • เอกลักษณ์ของแบรนด์มีคนจดจำได้ไหม 

  • ประสบการณ์ของลูกค้าเขารู้สึกกับแบรนด์เราแบบไหน

  • แนวโน้มการตลาดสถานะการแข่งขันในตลาดตอนนี้เราเป็นรองหรือครองอันดับแชมป์

     

           รวมทั้งมองหาดูว่าตอนนี้ธุรกิจของเรามีจุดเจ็บปวด หรือ Pain Point อะไรบ้างที่ต้องการแก้ไขอะไรบ้าง เช่น ตอนนี้แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จักหรือยังโนเนมอยู่, แบรนด์เจอกับปัญหาดราม่าหรือภาวะวิกฤต (Brand Crisis) ฯลฯ ลองมองหาปัญหาที่ธุรกิจกำลังเจออยู่ เพื่อวางแผน Marketing Communication Plan เบื้องต้น 

            เว้นเสียแต่ถ้าคุณมีธงในใจหรือมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าอยากทำ Marketing Communication Plan เกี่ยวกับหัวข้ออะไรก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ 

2.ตั้งวัตถุประสงค์การสื่อสารทางการตลาด

          ให้การวางกลยุทธ์ไม่หลุดไม่ฟุ้งก็ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า ทำ Marketing Communication Plan เพื่ออะไร เช่น ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต้องการประชาสัมพันธ์หรือโปรโมทโปรโมชั่น/แคมเปญใหม่ ฯลฯ

          หรือถ้าคิดวัตถุประสงค์ Marketing Communication Plan ไม่ออกอาจจะเริ่มจากถามคำถามว่า  

  • เราต้องการประสบความสำเร็จใน…เรื่องอะไร

  • ทำไมเราถึงต้องการประสบความสำเร็จใน…เรื่องนั้น?

  • ทำไม…เรื่องนั้นนั้นถึงสำคัญ?

            นึกไม่ออกว่าจะสร้างวัตถุประสงค์ยังไง เดี๋ยวยกตัวอย่างสถานการณ์ธุรกิจเจอปัญหาเจอเรื่องดราม่า Brand Crisis ในโลกโซเชียล และสร้างผลกระทบที่ทำให้แบรนด์ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือ และส่งผลต่อยอดขาย

  • เราต้องการประสบความสำเร็จในเรื่อง.. แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ดูดีขึ้นเพื่อกลบกระแสดราม่า

  • เราต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์อีกครั้ง เพื่อเผชิญหน้ากับวิกฤตได้อย่าง\

  • ยั่งยืนเรื่องนี้สำคัญเพราะจะช่วยให้แบรนด์รอดพ้นจากวิกฤตที่เกิดขึ้น
     

           เมื่อเราได้ข้อสรุปแบบนี้ก็จะทำให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าควรวางวัตถุประสงค์กู้วิกฤตเรียกความเชื่อมั่นของแบรนด์ให้กลับคืนมา และอย่าลืมกำหนดระยะเวลาการสื่อสาร Marketing Communication Plan ให้ชัดเจน และก็เป็นอะไรที่ทำได้จริง ไม่มโนไปเองนะ

 

3.ตั้งกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ

          อย่างที่รู้กันว่าคนเรานั้นใช้ภาษาสื่อสารแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ Marketing Commnunication Plan ไม่แป้ก เราควรเริ่มต้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ (Persona) เพื่อให้การสื่อสารทางการตลาดทรงพลังมากที่สุด การตั้งกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ให้ชัดเจน เช่นกำหนดเพศ อายุ รายได้ การศึกษา อาชีพ พฤติกรรม ความชอบ ความเชื่อ ฯลฯ กำหนดเป้าหมายหลักของบริษัทฯออกมาให้ก่อนลงมือวางแผนกลยุทธ์ Marketing Communication Plan 

           เมื่อเรารับรู้แล้วว่า การตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการทำ Marketing Communication ให้ตรงจุด ตรงประเด็น ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการสื่อสารด้วย เพราะถ้าเราสื่อสารผิดกลุ่มถึงแม้จะสร้างการรับรู้ได้ก็จริง แต่อาจจะไม่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการได้

 

4.วางแผนกลยุทธ์สื่อสารการตลาด กำหนดงบประมาณ

          ให้การทำ Marketing Communication Plan เกิดขึ้นจริง มาถึงขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำแล้ว คือการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ธุรกิจ วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมาย เข้าด้วยกันเพื่อวางกลยุทธ์เฉพาะ (Specific tactics) ตลาดเพื่อให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งกำหนดงบประมาณ Marketing Communication Plan ให้ชัดเจน และกำหนดเวลาในการโปรโมทสื่อสารพร้อมกับสร้างแผนการปฏิบัติงาน (Action Plan) ด้วย 

 

5.ผลิตเนื้อหา หรือคอนเทนต์และข้อความที่ต้องการสื่อสาร

          มาถึงขั้นตอน Marketing Communication Plan การลงมือทำเมื่อมีกลยุทธ์ รู้เป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ก็ลงมือตามแผนที่วางไว้ ด้วยการสร้างสรรค์คอนเทนต์ แคปชั่น ภาพ (Artwork) ต่าง ๆ ให้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และตอบโจทย์ที่ต้องการ โดยจะต้องเลือกภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น ภาษาเข้าใจง่าย ภาษาทางการ ภาษากึ่งทางการ หรือภาษาท้องถิ่น แบบไหนต้องเลือกให้ตรงกับแผน  Marketing Communication Plan ด้วยล่ะ ซึ่งจุดนี้จะทำให้แต่ละแบรนด์มีการสื่อสารที่แตกต่างกันนั้นเอง

 

6.เลือกช่องทางโปรโมทคอนเทนต์หรือข้อความนั้น

          มาถึงการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ เพื่อให้เข้าถึงได้มากที่สุด สร้างการรับรู้ได้สูงสุด หลังจากลงมือผลิตคอนเทนต์หรือข้อความที่ต้องการสื่อสาร Marketing Communication Plan ครบจบก็มาเลือกช่องทางโปรโมทให้กลุ่มเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้พบเห็น ผ่านการสื่อสารในช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายพบเห็นและนิยมใช้งานเป็นประจำ เช่น หนังสือพิมพ์ อีเมลทางการตลาด เว็บไซต์ โทรทัศน์ ข้อความ SMS โซเชียลมีเดีย (Facebook, LINE OA, YouTube, TikTok, Twitter) รวมทั้งช่องทางการยิงแอดต่าง ๆ ก็กำหนดให้เหมาะสมตามกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยจะต้องเลือกใช้สิ่งที่คุ้มค่าที่สุด ไม่เกินงบที่วางเอาไว้ และได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

7.ตั้งเป้าหมายและวัดผลประเมินผล

          กลยุทธ์ Marketing Communication Plan จะทรงพลังได้ถ้าเรามีเป้าหมายและมีการวัดผลประเมินผลการสื่อสารทางการตลาด โดยเราจะต้องตรวจสอบเป็นระยะว่าสิ่งที่สื่อสารออกไปนั้นเป็นอย่างไร มีกระแสตอบรับแบบไหน เป็นไปในทิศทางที่ดีหรือเปล่า เพื่อปรับปรุงและแก้ไขให้กลยุทธ์การสื่อสารดียิ่งขึ้น อาจจะเริ่มจากการลองทำแบบสำรวจ แบบสอบถาม หรือลงมือเก็บข้อมูล Social Listening ก็ช่วยได้เยอะ

 

          เพื่อให้การสื่อสารทางการตลาดเฟอร์เฟคที่สุด จำไว้ว่า Marketing Communication Plan จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อวางแผนและมีเป้าหมายชัดเจนก่อนลงมือทำ รวมทั้งมีการวัดผลลัพธ์อยู่เสมอ 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
What-is-CRM-Get-to-know-4-types-of-CRM
Digital Tranformation22 พฤษภาคม 2023

CRM คืออะไร ? ทำความรู้จัก 4 ประเภท CRM กันเถอะ

          เพราะโลกธุรกิจแข่งขันรุนแรงขึ้นทุกวัน หากเรามัวแต่วางกลยุทธ์มองหาแต่ลูกค้าใหม่อย่างเดียว ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียงบการตลาดแบบเกินความจำเป็น ต้องจ่ายต้องลงทุนไปเรื่อย ๆ แบบเดา โดยไม่รู้เลยว่าคนกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราจริงหรือเปล่า การลงทุนนั้น ๆ เขาจะสนใจสินค้าหรือบริการเราจริงแค่ไหนก็ยังไม่รู้

          เลิกเถอะค่ะ การทำการตลาดแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ทุ่มทั้งเงินทุ่มทั้งแรงแล้วมองไม่เห็นผลลัพธ์อะไรเลย จะดีกว่าไหม ถ้าเราหันมาเอาใจลูกค้าที่มีอยู่แล้ว ดูแลจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าด้วยระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management ให้ดี เพื่อส่งต่อบริการที่ดีที่สุดให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาใช้งาน


รู้จักระบบ CRM

          ให้สรุปชัดเข้าใจง่าย ๆ ระบบ CRM คือ ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขาย และเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร จุดนี้มีข้อดีคือเราไม่ต้องเหนื่อยหาลูกค้าใหม่ และการหันมาทำความรู้จักและบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าให้มากขึ้น ใกล้ชิดกันมากขึ้น รู้ใจแบบไม่ต้องเดาใจ ตรงกับความต้องการสูงสุด

4 ประเภทของ CRM

          กำลังอยากเริ่มต้น และอยากทำความรู้จัก CRM ให้มากขึ้น เรามาดู 4 ประเภทของระบบ CRM มาบอกเล่าสู่กันฟังค่ะ เผื่ออยากเอาไปเลือกใช้งานกันได้


1. Operational CRM บริหารจัดการ 
         บริหารดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! รู้หรือเปล่าว่า ระบบ CRM ไม่ได้เพียงแค่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเท่านั้น แต่ช่วยบริหารจัดการธุรกิจได้ด้วยนะ โดย Operational CRM แบ่งเป็นรูปแบบตามนี้ 

          Sales Automation ระบบการขายอัตโนมัติ ช่วยจัดระเบียบให้การซื้อขายง่ายยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบดังกล่าว จะทำให้เราพยากรณ์ยอดขายได้แม่นยำขึ้นเยอะ
Marketing Automation ระบบการตลาดอัตโนมัติ เป็นการหาช่องทางการโปรโมท นำเสนอผลิตภัณฑ์ กระตุ้นการซื้อซ้ำ บริการให้เข้าถึงลูกค้าของเราแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องเหนื่อยอัตโนมือแล้ว เช่น การส่งอีเมล ส่งข้อความ SMS หรือการยิง Ads โฆษณาบนออนไลน์ ระบบนี้ก็ข้ามาช่วยได้นะ
          Service Automation ระบบบริการอัตโนมัติ จุดนี้เป็นการช่วยให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้กับคอลเซนเตอร์เป็นหลัก

          จะเห็นได้ว่า Operational CRM ดังล่าว ช่วยเพิ่มความสะดวกให้การทำงาน ลดเวลาการทำงานให้ทีมการตลาดและทีมขาย เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่เพิ่มประสิทธิภาพได้เยอเลยนะ 


2. Analytical CRM เน้นวิเคราะห์ข้อมูล
          การสร้างรายงานและการวิเคราะห์ก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ Analytical CRM ด้วยความที่เป็น CRM วิเคราะห์เชิงลึกที่ผู้บริหารนิยมใช้ค่ะ เนื่องจากจะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดของการบริการลูกค้าในทุกช่องทาง ซึ่งความหินของ Analytical CRM คือ จะต้องรวบรวมข้อมูลให้หมดจะได้เห็นภาพว่า ต้องทำยังไงต่อไป ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพยังไง เพื่อให้ลูกค้าอยากอยู่กับเราไปนาน ๆ มีความภักดีในแบรนด์สินค้าและบริการ (Brand Loyalty) ต่อไป 


3. Collaborative CRM การทำงานร่วมกัน
          สำหรับ  Collaborative CRM อันนี้เป็นระบบที่บางครั้งก็ถูกเรียกว่า Strategic CRM ก็มีค่ะ โดยจะเป็นการรวมข้อมูลทั้งองค์กรแบบขนานใหญ่ เน้นการแบ่งปันข้อมูลของลูกค้าในหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เช่น ทีมขาย ทีมการตลาด ทีมเทคนิค และฝ่ายสนับสนุน หรือทีมคอลเซนเตอร์ ฯลฯ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแชร์ข้อมูลกัน ร่วมกันมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

          ในส่วน Collaborative CRM นี้มีไว้แก้ปัญหาให้กับบริษัท ธุรกิจ หรือองค์กรที่ไม่รู้ว่า จะต้องวางแผนยังไงต่อไป ยิ่งถ้ากำลังรู้สึกเบื่อ ๆ กับการวางกลยุทธ์แบบไม่รู้ว่าลูกค้าคิดอะไร ? เพื่อให้การตลาดยั่งยืน รู้หรือไม่ว่า หลังจากที่เราทำ สิ่งนี้จะช่วยวางกลยุทธ์ให้กับธุรกิจได้ด้วย โดยข้อมูลดังกล่าว ช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ง่าย เช่น รู้ว่าลูกค้าชอบอะไร ชอบสินค้าไหน ชอบโปรโมชั่นอะไร หรือมีความต้องการยังไง ตรงนี้ถือว่าเป็นการบริหารจัดการความสัมพันธ์แบบคนรู้ใจที่ไม่ต้องเดาไปเอง เนื่องจากข้อมูลนี้ค่อนข้างเยอะ บางครั้งก็จะใช้ระบบซอฟท์แวร์มาช่วยวิเคราะห์ เก็บข้อมูล และตัดสินใจร่วมด้วยค่ะ


4. Social CRM โซเชียลก็ช่วยได้
          เพราะโซเชียลทำให้เราใกล้กันมากขึ้น ยิ่งตอนนี้คนเล่นโซเชียลกันทุกวัน ทุกเวลาค่ะ ดังนั้น รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าบนช่องทาง Social CRM ก็เป็นอีกทางที่น่าสนใจ โดยระบบ CRM ประเภทนี้เราจะต้องเน้นการสื่อสารให้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เพื่อให้ยินดีที่จะแชร์ คอมเมนต์ แชทหา โดย Socail CRM นั้นทำให้เราได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกค้า หรือสื่อสารกันแบบตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม ช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกันขึ้นกับชาวเน็ต และเก็บข้อมูลเอาไปต่อยอดบริการในขั้นต่อไปได้ค่ะ นอกจากนี้เรายังหยิบข้อมูลในโซเชียลมีเดียที่เรามีมาวิเคราะห์ต่อยอดการตลาดได้อีกด้วยนะ
แล้วจะทำยังไงให้ CRM ประสบความสำเร็จ


          เพราะความสำเร็จไม่มีสูตรตายตัวค่ะ เพื่อให้การทำ CRM แม่นยำแบบไม่คิดไปเอง เราจะต้องตั้งโจทย์ที่ต้องการ ว่า เราทำ CRM เพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไร หลังจากนั้นต้องเก็บข้อมูล Data พอสมควรเลยค่ะ โดยจะต้องเก็บข้อมูลให้ตรงกับที่เราต้องการใช้งาน และต้องวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ด้วยนะ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายของมือใหม่ที่อยากลองทำ CRM พอสมควรเลยล่ะ

          และถ้าอยากเริ่มทำระบบ CRM แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ปรึกษา 1Moby ได้นะคะ เรายินดีให้คำปรึกษาทุกธุรกิจ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องตามเป้าหมายของธุรกิจคุณ ปรึกษาฟรีค่ะ


 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
Examples-of-how-to-take-advantage-of-today-chatbot-creation
Marketing Automation22 พฤษภาคม 2023

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากการสร้างแชทบอทในปัจจุบัน

          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คนไทยชอบแชทก่อนซื้อ และคุณเชื่อหรือไม่ว่า หากเราตอบแชทช้า ปล่อยให้ลูกค้ารอแชทนาน ๆ แบบที่เราไม่ยอมตอบ ลูกค้าอาจจะไม่รอ และเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าหรือบริการกับคู่แข่งแทน ดังนั้น การสร้างแชทบอทระบบตอบคำถามอัตโนมัติในแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อมาเป็นตัวช่วยธุรกิจ จึงเป็นอีกทางเลือกของผู้ประกอบการในยุคนี้ เพราะช่วยตอบคำถาม และคัดกรองลูกค้าได้ตลอดเวลา

 

แชทบอท (Chatbot) คือ

          สำหรับแชทบอท (Chatbot) เป็นซอฟต์แวร์แบบ Marketing Automation ใช้ตอบกลับระบบสนทนา แชท โดยเฉพาะคำถามพบบ่อย ๆ ซึ่งแชทบอทนั้นสามารถใช้งานได้ทั้งในแชทเฟซบุ๊ก (Messager Facebook) แชทไลน์ (LINE) หรือใช้ติดตั้งบนเว็บไซต์ Web Chat ก็ได้ตามความต้องการ

          โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ช่วยตอบแชท ให้คำปรึกษาได้ทันใจ มีประสิทธิภาพในการให้ข้อมูล ลดการทำงานซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถสนทนาได้เหมือนกับคนเรา พูดง่าย ๆ แชทบอทนั้นสวมบทบาทราวกับเป็นมนุษย์ท่านหนึ่งก็ว่าได้ เช่น แชทบอทช่วยในการเคลมประกัน ส่งเอกสารและก็อัปเดทสถานะ หรือจะเป็นแชทบอทช่วยตอบคำถามที่พบบ่อยให้กับลูกค้าก็ได้ทั้งนั้น

แพลตฟอร์มที่คุณพบเห็นแชทบอท

          อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่เราจะพบการติดตั้งแชทบอทผู้ช่วยอัจฉริยะบน Messenger Facebook และ LINE เป็นหลัก อย่างเช่น 1Moby เราสามารถติดตั้งระบบแชทบอทได้ตามความต้องการของธุรกิจ

          ปัจจุบัน เราสามารถปรับแชทบอทได้อย่างเป็นอิสระ กล่าวคือเราสร้างสรรค์ยังไงก็ได้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรา โดยจะมีรายละเอียดรูปแบบประเภทแชทบอทให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ สำหรับท่านที่สนใจสามารถอ่านบทความ 6 ประเภทแชทบอท เทคโนโลยีที่ธุรกิจต้องมีในตอนนี้เป็นไอเดียเพิ่มเติมได้ค่ะ

          อย่างไรก็ดี บริการ LINE จะจำกัดความสามารถของการทำแชทบอทไว้ในระดับนึง ซึ่งเราอาจจะต้องการทำเพิ่มเติม 1Moby สามารถช่วยในส่วนนี้ได้รายละเอียดดูเพิ่มเติมที่ LINE Customization มั่นใจได้เลยว่า เราเป็น Official LINE Development Partner พร้อมพัฒนาระบบ LINE แชทบอทให้คุณ

การใช้ประโยชน์ของแชทบอทในธุรกิจ

          ตัวอย่างของธุรกิจต่าง ๆ ที่นำแชทบอทไปใช้ ก็อยากให้นึกถึงศูนย์บริการลูกค้าที่ต้องตอบข้อมูลตลอดทั้งวัน, การนำแชทบอทมาใช้ในการขายคัดกรองลูกค้าใหม่ รวมทั้งใช้แชทบอทในสื่อสารการตลาดกับลูกค้าปัจจุบัน ช่วยนำเสนอโปรโมชั่น หรืออื่น ๆ ให้กับลูกค้า รวมทั้งช่วยตอบคำถามแบบบริการหลังการขายก็ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งเดียว ประหยัดต้นทุนได้มาก

ประโยชน์ของการสร้างแชทบอท

           ให้เห็นภาพชัดขึ้น เรามากล่าวถึงประโยชน์ของการมีแชทบอทเอาไว้ช่วยธุรกิจ ขอแบ่งเป็นรายละเอียด ดังนี้

ประโยชน์ฝั่งธุรกิจ

ประโยชน์ฝั่งลูกค้า

  • ช่วยประหยัดเวลาพนักงาน หรือแอดมินให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ช่วยตอบแชทลูกค้าได้ทุกวัน ทุกเวลา แบบทันเวลา
  • ช่วยเพิ่มโอกาสการปิดยอดขาย
  • เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  • ช่วยคัดกรองรายชื่อลูกค้าที่ดีมีคุณภาพ (Potential leads)
  • ยกระดับการบริการลูกค้า
  • ดูแลลูกค้าพร้อมกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน
  • เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลหลังบ้าน หรือระบบที่ใช้อยู่ได้ทันที โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการเชื่อมโยง Online-to-Offline 
  • ได้คำตอบเร็วตรงความต้องการ แบบไม่เสียเวลา ไม่ต้องรอนาน
  • รู้สึกอุ่นใจ มั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องซื้อสินค้า หรือบริการกับแบรนด์นั้น ๆ

 

สนใจทำแชทบอท

         อยากทำแชทบอทสอบถาม 1Moby รับสร้างแชทบอทแบบ Custom ได้โดยที่คุณสามารถกำหนดความสามารถและเราจะวิเคราะห์และออกแบบให้ ตรงกับความตรงการของธุรกิจคุณ โทรสอบถามได้ที่ (0)2 798 6000
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
6-things-to-look-at-before-deciding-to-hire-Website-company
Website & Application22 พฤษภาคม 2023

6 ข้อต้องดู ก่อนตัดสินใจจ้าง บริษัทรับทําเว็บไซต์

          อย่างที่เราทราบกันดีว่า เว็บไซต์นั้นช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจในยุคดิจิทัล สำหรับธุรกิจไหนที่ยังไม่มีเว็บไซต์และอยากเริ่มต้น 1Moby ขอแนะนำการตัดสินใจว่าทำไมเราต้องจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ ประโยชน์ที่เราจะได้รับเมื่อจ้างมืออาชีพทำ กับรายละเอียด 6 ข้อสําหรับการตัดสินใจจ้าง บริษัทรับทําเว็บไซต์ให้ธุรกิจและองค์กรตามนี้เลย


ก่อนสร้างเว็บไซต์เราต้องเตรียมอะไรบ้าง

          อยากทำเว็บไซต์ให้ปัง! เป้าหมายต้องชัดเจน เราจะต้องรู้ความต้องการ และตอบตัวเองให้ได้ว่า เว็บไซต์ของเรามีไว้ทำอะไร ? เป้าหมายของเว็บไซต์ที่เราต้องการ เช่น

  • เว็บไซต์ Content Management System การออกแบบเว็บไซต์ เพื่อวางระบบการจัดการเนื้อหาหรือคอนเทนต์ของเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ตรงเป้าหมาย หรือเป็นการให้ข้อมูลลูกค้าประกอบการตัดสินใจซื้อ
  • ว็บไซต์ E-Commerce Platform เว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ จัดการข้อมูลสินค้า วางระบบกับฐานข้อมูล
  • เว็บไซต์ Booking and Integration Management รองรับการจองออนไลน์ นัดหมายออนไลน์ เช่น จองโรงแรมออนไลน์ จองรถใหม่แบบออนไลน์ จองคอนเสิร์ตออนไลน์ จองคิวรักษาพยาบาล ฯลฯ

          หลังจากมีเป้าหมายในการทำเว็บไซต์แล้ว เพื่อให้เว็บไซต์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจะต้องมองหาฟังก์ชั่นที่เราต้องการมีบนเว็บไซต์เพื่อสนับสนุนธุรกิจเรา เช่น  ระบบแบบฟอร์มออนไลน์ให้กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับ, ระบบแชทสนทนา (Live Chat), ระบบ Interactive Design Website ลูกเล่นดึงดูด, เว็บไซต์ Microsite & Sales Page เอาไว้ทำแคมเปญเสนอสินค้าและยิงโฆษณาออนไลน์ ฯลฯ

          หลังจากได้คำตอบข้างต้นแล้ว อย่าลืมว่า การทำเว็บไซต์นั้นไม่ได้สร้างทีเดียวแล้วจบ! เนื่องจากยังยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก เช่น ค่าเช่าโฮสติ้ง (Hosting) พื้นที่เว็บไซต์ซึ่งจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี รวมทั้งค่าใช้จ่ายโดเมน (Domain) ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการจดด้วย ใด ๆ การสร้างเว็บไซต์ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย เอาเป็นว่า การจ่ายเงินจ้างบริษัททำเว็บไซต์นั้นช่วยประหยัดเวลา ประหยัดเงิน ลดความเสี่ยงเว็บล่มเว็บหาย และไม่ต้องเครียดด้วยล่ะ


เลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ ต้องพิจารณาจากอะไร? 

          เริ่มอยากทำเว็บไซต์แล้วใช่ไหมคะ มาดูเช็กลิสต์ที่ต้องดูก่อนจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ เราควรเตรียมหรือศึกษาอะไร มีดังนี้ค่ะ


1.บริษัทรับทำเว็บไซต์ต้องมีความน่าเชื่อถือ และมีตัวอย่างเว็บไซต์ที่ถูกใจเรา
          เพราะเว็บไซต์จะอยู่กับบริษัทหรือธุรกิจเราไปอีกนาน ป้องกันปัญหาคนทำเว็บไซต์ทิ้งงาน! หนีหายระหว่างทำเว็บไซต์ การเลือกจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญมาก สามารถค้นหารายละเอียดออนไลน์จากเว็บไซต์บริษัทนั้น ๆ ตามดูรีวิวจากช่องทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจจ้าง
          หลังจากเจอบริษัทรับทำเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือและถูกใจแล้ว แนะนำให้ติดต่อขอดูผลงานตัวอย่างเว็บไซต์ที่บริษัทนั้นเคยทำ เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกจ้างจะช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจมากขึ้น

 

2.คุยกันรู้เรื่อง
          ควรเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ที่คุยกับเรารู้เรื่อง ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาค่ะ ถามว่าจะทดสอบอย่างไรว่า เรากับบริษัทรับทำเว็บไซต์คุยกันรู้เรื่องและเข้าใจเป้าหมายซึ่งกันและกัน แนะนำให้บอกรายละเอียดความต้องการของเรา และลองพูดคุยกันก่อน

          ทางที่ดีเราควรมีตัวอย่าง Website Design ที่ชอบเอาไว้ในใจเผื่อเป็นไอเดียในการพิจารณาเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นค่ะ แต่ถ้าอยากทำเว็บไซต์ขายของ และยังไม่มีไอเดียสามารถปรึกษากับ 1Moby ได้นะคะ เราพร้อมเปลี่ยนทุกไอเดีย ให้กลายเป็นจริง

 

3.พิจารณางบประมาณ
          เพราะทุกอย่างคือต้นทุนของธุรกิจ การพิจารณางบประมาณเป็นอีกข้อที่เราต้องดูก่อนจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ เราจะต้องตั้งงบประมาณทำเว็บเอาไว้ และคุมงบอยู่หมัด ตรงนี้เป็นอีกจุดสำคัญที่เราต้องเตรียมก่อนพูดคุยกับบริษัทรับทำเว็บไซต์ค่ะ

 

4.บริษัทรับทำเว็บไซต์ มีแพคเกจอย่างไร มีบริการอะไรบ้าง 
          ก่อนตัดสินใจเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์ ต้องดูรายละเอียดบริการรับทำเว็บไซต์ให้ดีก่อนว่าจ้าง เช่น
          - พัฒนาเว็บไซต์ด้วยระบบอะไรปลอดภัยแค่ไหน 
         - ค่าใช้จ่าย Domain และ Hosting เท่าไหร่ 
         - ออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้กี่หน้า 
         - ดูแลหลังบ้าน ติดตั้ง Google Analytics (GA4) หรือ Google Ads 
         - สร้างปุ่มเชื่อมต่อ LINE และ FB Inbox
         - มีบริการออกแบบภาพกราฟิกไหม 
         - มีการออกแบบ UX/UI ให้หรือเปล่า 
         - รับทำ SEO ให้เว็บไซต์หรือไม่


          ไม่จำเป็นต้องเลือกให้ครบทุกข้อ แต่อยากให้เลือกให้ตรงกับความต้องการของคุณให้มากที่สุด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาปรับเว็บในภายหลังนะคะ

 

5.บริษัทรับทำเว็บไซต์ มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน 
          การจ้างบริษัทมืออาชีพทำเว็บไซต์ให้ธุรกิจออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ได้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ และตรงตามเป้าหมายการใช้งานจะต้องมีขั้นตอนชัด! ว่าจะทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดต่าง ๆ ระบุชัดเจน ตามด้วยกำหนดระยะเวลาส่งงานเพราะเวลาก็เป็นต้นทุนที่สำคัญของธุรกิจ ดังนั้น จะต้องกำหนดระยะเวลาส่งงานให้ชัดเจน ตรงนี้ต้องพูดคุยตกลงกันให้ดีนะคะ


6.บริการหลังการขาย หรือหลังทำเว็บเป็นอย่างไร
          ข้อนี้ต้องดูให้ชัด! ก่อนจ่ายเงินจ้างทำเว็บค่ะ จะต้องสอบถามรายละเอียดบริการหลังการขายหลังจากทำเว็บไซต์ด้วยว่า บริษัทนั้น ๆ จะยังดูแลเว็บไซต์เราหรือไม่ กรณีเว็บล่ม เว็บมีปัญหา หรือเว็บโดนแฮกข้อมูล โดยจะต้องพิจากรณาเงื่อนไขบริการหลังการขายให้ดี ว่าเป็นอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ ตรงนี้ต้องดูให้ดีก่อนจ้างทำเว็บไซต์นะคะ 
ทำไมถึงควรจ้างบริษัทมืออาชีพทำเว็บไซต์ 
          ทำเว็บทั้งทีต้องทำให้ดีไปเลย! เพราะเว็บไซต์คือหน้าร้านค้า เว็บไซต์สวย เว็บไซต์ใช้งานง่ายก็ช่วยดึงดูดลูกค้าสร้างยอดขายได้มากกว่า มองหาบริษัทรับทำเว็บไซต์ จ้างทำเว็บไซต์ที่ไหนดีต้อง 1Moby เราพร้อมออกแบบเว็บไซต์ให้ตรงความต้องการของคุณด้วยทีมงานมืออาชีพที่ https://www.1moby.com/our-services/  กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับคลิก หรือดูตัวอย่างผลงานได้ที่เว็บไซต์ www.1moby.com
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
Before-creating-a-chatbot-for-business-must-read
Marketing Automation22 พฤษภาคม 2023

ก่อนสร้างแชทบอท เพื่อธุรกิจ ต้องอ่าน!

          ทุกวันนี้การแชทแทบจะเป็นส่วนนึงของชีวิตประจำวันของผู้คน ว่ากันว่าลูกค้าส่วนใหญ่นิยมทักแชทก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการ เพื่อให้ธุรกิจของเราไม่พลาดทุกการติดต่อ แชทบอท (Chatbot) จึงเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการและธุรกิจ ก่อนสร้างจะข้อคำนึงว่าเราต้องการแชทบอทแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของตนเองมากที่สุด ด้วย 4 สิ่งที่ต้องตัดสินใจ ตอบคำถาม หรือเลือกก่อนจะสร้างหรือจ้างทำแชทบอท มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย

1.เราต้องการใช้แชทบอทช่วยงานอะไรเป็นหลัก 

          เราจะต้องตอบให้ได้ว่า การสร้างแชทบอทนี้สร้างขึ้นเพื่ออะไรเป็นหลัก จะได้เลือกประเภทแชทบอทได้ตรงความต้องการมากที่สุด เช่น สร้างไว้ตอบคำถามพบบ่อย (FAQ), สร้างไว้จำหน่ายสินค้าและบริการ, สร้างไว้สำหรับบริการหลังการขาย หรือสร้างไว้สำหรับเก็บรายชื่อลูกค้า (Leads) ฯลฯ หลังจากเราได้คำตอบว่าจะสร้างแชทบอทไว้ทำอะไร ก็จะทำให้เราเริ่มต้นสร้างแชทบอทได้ง่ายขึ้น เพราะมีขอบเขตการทำงานชัดเจนเป็นขั้นตอน มีจุดมุ่งหมาย วัดผลลัพธ์ได้ สามารถพัฒนาต่อ เพื่อสร้างจุดแข็งให้แชทบอทของเราชัดเจน

2.ต้องการใช้แชทบอทในช่องทางไหน

          เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ชัดเจนว่า เราต้องการแชทบอทช่วยเหลือในช่องทางไหน เช่น Facebook Messenger, LINE หรือ Live Chat รวมทั้งการสร้างแชทบนเว็บไซต์ Webchat โดยจะต้องเลือกช่องทางที่มีลูกค้าของเรานิยมใช้บริการแชทกับเราเป็นหลัก จะได้ไม่เสียเงินโดยใช่เหตุ ตรงนี้คุณจะต้องหาคำตอบก่อนเริ่มสร้างแชทบอทนะ จะได้หาเครื่องมือเชื่อมต่อ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำงานได้แบบไร้รอยต่อ

3.ความสามารถของแชทบอทตอบโจทย์สิ่งที่เราต้องการหรือไม่

          ข้อนี้จำเป็นมาก ๆ การพิจารณาสร้างแชทบอท เราจะต้องหาแชทบอทที่ช่วยเราได้มากที่สุด มีฟีเจอร์ต่าง ๆ  ตอบโจทย์ครบถ้วน เช่น เราอยากมีแชทบอทไว้ตอบคำถามที่เจอบ่อย ๆ ก็ต้องมองหา การใช้แชทบอทตามคีย์เวิร์ด (Keyword recognition-based chatbots) หรือ แมชชีนเลิร์นนิ่งแชทบอท (Machine Learning chatbots) มาตอบคำถามลูกค้า เป็นต้น

4.แชทบอทต้องช่วยลดภาระและลดปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน?

           เพื่อให้แชทบอทไม่กลายเป็นแชทเบื่อที่ทำให้ลูกค้าหน่ายหนี ทีมงานเหนื่อยกว่าเดิม เราจะต้องพิจารณาให้แน่ใจว่า แชทบอทที่กำลังสร้างช่วยลดปัญหาและลดภาระการทำงานของทีมงานได้จริง ? หรือแชทบอทนั้นจะสร้างปัญหาหนักกว่าเดิม ข้อนี้ต้องพิจารณาให้หนักค่ะ เทียบข้อดีข้อเสียให้ครบก่อนเริ่มสร้างแบ่งให้เห็นชัด ๆ แล้วระดมความเห็นกับทีมงานก่อนลงมือทำนะคะ

 

          ทำความรู้จักข้อคำนึงก่อนสร้างแชทบอทกันแล้ว หากอยากมีแชทบอท แต่ไม่รู้เริ่มต้นยังไง เราพร้อมช่วยธุรกิจคุณถึงฝั่งฝันให้  1Moby  ช่วยนะคะ เราพร้อมดูแลคุณ ปรึกษาฟรี! 
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
What-is-a-CDP-and-Why-is-it-a-Digital-Transformation-Trend
Data & Analytics22 พฤษภาคม 2023

มัดรวมมาให้ CDP คืออะไร ทำไม ? ถึงเป็นเทรนด์สุดปัง Digital Transformation

          เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังมาแรงและกำลังได้รับความสนใจมาก ๆ เลย นั่นก็คือ CDP หรือเรียกว่า Cutomer Data Platform แต่ถ้าคุณสงสัยว่า CDP คืออะไร มีรายละเอียดแบบไหน แล้วทำไมธุรกิจจะต้องทำความรู้จัก บทความนี้มีสรุปเล่าให้ฟัง

 


Customer Data Platform (CDP) คืออะไร

          คำว่า Customer Data Platform หรือ CDP คือ แพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลลูกค้า จุดเด่นที่ทำให้ CDP น่าสนใจสุด ๆ คือ Platform นี้ใช้เก็บข้อมูลจากทุก ๆ แหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายแบบรวบไว้ที่เดียวใน CDP ช่วยให้ทำการตลาดและบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าได้สะดวกขึ้น เห็นลูกค้าชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความปลอดภัยด้วย เลยทำให้ CDP กลายเป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ!

 

ทำไมทุกธุรกิจจะต้องมี CDP 

          ทุกวันนี้ Data Privacy ความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าต้องมาเป็นอันดับ 1 และ CDP จะช่วยให้จัดการข้อมูลให้เป็นไปตาม กฎ PDPA และ GDPR ที่จะเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ที่ยินยอมให้ข้อมูลเท่านั้น ตอบโจทย์กรอบกำกับการดูแลข้อมูล Data Governance

          ยิ่งถ้าคุณเผชิญหน้ากับปัญหามี Data หลายช่องทาง้กินไปแล้ว!!! แพลตฟอร์ม CDP จะช่วยรวบ Data ให้ทำงานได้ง่ายแบบไม่ต้องเดา ไม่ต้องเหนื่อยอีกต่อไป เพราะรู้ทุกข้อมูลของธุรกิจ แบบมีระบบชัดเจนมากขึ้น


CDP ใช้เก็บข้อมูลประเภทใด

           สำหรับข้อมูล CDP จะสามารถเก็บข้อมูลเชิงพฤติกรรมของลูกค้า และนำมาสร้างโปรไฟล์ของลูกค้าได้ละเอียดแม่นยำขึ้น โดยมีระยะการเก็บข้อมูลไม่จำกัด

ถามว่า CDP เก็บข้อมูลอะไรบ้าง CDP จะช่วยข้อมูลที่ระบุตัวตนชัดเจน ได้แก่

  • ข้อมูลส่วนตัวที่ระบุตัวตนได้ (Identity data) เช่น ชื่อ, รายละเอียดการติดต่อ,  พิกัด ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงรายละเอียด (Descriptive data) เช่น อาชีพ, ไลฟ์สไตล์, งานอดิเรก ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) เช่น ยอดการสั่งซื้อ, วันที่สั่งซื้อ, จำนวนสินค้า ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงพฤติกรรม (Behavioral data) เช่น การเข้าชมเว็บไซต์, ข้อมูลการเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดีย, อุปกรณ์ที่ใช้ รวมทั้งข้อมูลการฌข้าถึงโฆษณาออนไลน์ ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เช่น การให้คะแนนบริการของลูกค้า ฯลฯ

          จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุตัวตนได้เอาไว้ด้วยกันทำให้ CDP เปรียบเสมือนคลังสมบัติกล่องโตที่พร้อมใช้งาน

          โดย CDP มีโครงสร้าง Data ยืดหยุ่น เชื่อมโยงข้อมูลหลากหลายแบบ Relational Data ได้สบาย ๆ ระบบดังกล่าวเน้นใช้งานฝั่งนักการตลาด แบ่งประเภทได้ชัดเจน (Segmentation) ไว้ใช้งานได้ และมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระดับ Enterprise เพิ่มความปลอดภัยอีกระดับให้ข้อมูลของลูกค้าปลอดภัยที่สุด 

 


ตัวอย่างการใช้งาน CDP มีอะไร

           กรณีศึกษาของการใช้งาน CDP จะมีจุดแตกต่างกัน เช่นเก็บข้อมูล หรือสามารถทำนายและแนะนำอนาคตได้ด้วยช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เดี๋ยวเราแบ่งเป็นรายละเอียดคร่าว ๆ ให้เห็นเป็นไอเดียนะคะ

  • ใช้เพิ่มยอดขาย ด้วยการใช้ข้อมูลการซื้อของลูกค้า เอาไปเสนอโค้ดรหัสส่วนลด แต่ละรายการหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์และความสนใจของลูกค้า
  • ใช้ทำความเข้าใจแบรนด์ เพื่อปรับข้อเสนอโปรโมชันของสินค้าได้ตรงจุดที่สุด
  • ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในอนาคต เช่น ความน่าจะเป็นของยอดขาย การเข้าชม การเปิดอีเมล เมื่อเรารู้ข้อมูลก็จะสามารถปรับปรุงธุรกิจและการตลาดได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
  • ใช้รวมโปรไฟล์ลูกค้าจากทุกช่องทาง ทั้งข้อมูลลูกค้าหน้าร้านและช่องทางออนไลน์เข้าด้วยกัน ทำให้เรารู้จักลูกค้า จดจำได้ และบริการได้ดีกว่าที่เคย

          เห็นถึงประโยชน์ของ CDP และเริ่มสนใจทำ CDP ให้กับองค์กรหรือธุรกิจกันแล้วใช่ไหม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และพูดคุยกันได้ที่ 1Moby เรายินดีให้คำปรึกษา สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจด้วย Digital Tranformation นะคะ
 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
Why-businesses-need-to-adapt-to-Digital-Transformation
Digital Tranformation22 พฤษภาคม 2023

ทำไม ? ธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับ Digital Transformation

          สำหรับ Digital Transformation เป็นเรื่องราวที่ 1Moby นำมาแชร์และบอกเล่าอยู่เสมอ ๆ และครั้งนี้เราหยิบยกเรื่องราวความสำคัญของ Digital Transformation รวมทั้งเหตุการณ์เสี่ยง ๆ หากไม่ปรับองค์กรให้เข้าสู่ยุค Digital Transformation มาบอกเล่าเพื่อประกอบการตัดสินใจสำหรับองค์กรหรือธุรกิจไหนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำหรือไม่ทำ Digital Transformation บทความนี้เรามีข้อมูลมาให้เพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ


Digital Transformation มีความสำคัญต่อธุรกิจแค่ไหน?

          ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การทำ Digital Transformation นั้นสำคัญมาก บนเป้าหมายหลัก ๆ เช่น นำเทคโนโลยีมาปรับเพื่อความอยู่รอดในยุคดิจิทัล ปรับเพื่อเพิ่มรายได้ ปรับเพื่อให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้น อีกทั้ง ใช้ออกแบบและผลิตส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการให้ถึงมือลูกค้า รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้ลูกค้าปลื้มและประทับใจธุรกิจและองค์กรของเรามากที่สุด


อยากเริ่มต้น Digital Transformation ต้องทำไง?

         ธุรกิจจะเริ่มทำ Digital Transformation ได้อย่างไร กำหนดกระบวนการทางธุรกิจปรับให้ดียิ่งขึ้น เช่น รับฟังความเห็นของลูกค้าและนำมาปรับปรุง ฯลฯ เราจะต้องเริ่มอย่างมีแบบแผน ซึ่งจะต้องเริ่มสื่อสารให้คนภายในองค์กรเข้าใจตรงกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กร มองหาเครื่องมือที่ใช่มาช่วย Digital Transformation ได้อย่างชัดเจน และจะต้องไม่ทำเรื่อยเปื่อย ต้องวาง KPI ในการลงมือทำร่วมด้วยนะคะ และถ้าอยากอ่านเพิ่ม สามารถคลิกไปที่บทความ Digital Transformation คืออะไร มีเทรนด์ไหนบ้างที่กำลังมาแรงได้นะคะ


ทำไม? เราต้องปรับตัวด้วย ? ไม่ปรับได้ไหม?

          รู้ว่า การทำ Digital Transformation นั้นมีข้อดียังไงแล้ว แต่ถ้าไม่ทำล่ะจะเป็นไรไหม จะเจอกับอะไรหรือเปล่า มาดู 7 สถานการณ์ที่ต้องเจอว่า ถ้าไม่เปลี่ยนไม่ปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Transformation มีเจ็บแน่ ๆ ตามนี้เลยค่ะ

1.เสี่ยงเจอต้นทุนสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไวยิ่งกว่าใจคนอีกค่ะ เราไม่รู้หรอกค่ะว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร คุณอาจจะคิดว่าการลงทุนทำ Digital Transformation นั้นมีต้นทุนแพงหลายบาท แต่อยากให้มองว่ามันคุ้มค่าค่ะ ลองนึกภาพว่า ถ้าเรายังใช้เทคโนโลยีเดิม ๆ โดยไม่ยอมลงทุน Digital Transformation คุณอาจจะต้องเผชิญหน้ากับต้นทุนธุรกิจที่สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้


2.เสี่ยงที่จะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด
เราไม่ปรับ แต่คู่แข่งของเราอาจจะปรับแล้ว หากคู่แข่งของเราเริ่มต้นทำ Digital Transformation ไวกว่า และประสบความสำเร็จไปแล้ว เราอาจจะแก้ไขอะไรไม่ทัน รับมือไม่ทัน และสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวไปในที่สุดค่ะ พูดง่าย ๆ ว่า แพ้แบบแก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว

 

3.ธุรกิจจะล้าหลังกว่าคู่แข่ง
คงต้องหยิบยกประโยคที่ว่า “ทําแบบเดิม ผลลัพธ์ก็เหมือนเดิม” หากเราไม่ปรับตัวสู่ Digital Transformation ธุรกิจของเราก็เสี่ยงล้าหลังกว่าคู่แข่ง เสียเปรียบในการแข่งขัน ร้ายแรงสุดธุรกิจของเราอาจจะจมหายไปจากสังเวียนธุรกิจเลยก็ได้นะ

 

4.เสี่ยงที่จะเสียลูกค้า และพลาดโอกาสหาลูกค้าใหม่ ๆ
อันนี้น่ากลัวนะคะ หากเรายังทำธุรกิจแบบเดิม ไม่ได้ปรับเทคโนโลยีอะไรมาใช้ ไม่มีความน่าสนใจอะไร และไม่สนใจลูกค้าเลย แน่นอนว่าลูกค้าเปลี่ยนใจชัวร์ ๆ พร้อมกับเสียโอกาสการหาฐานลูกค้าใหม่ ตลาดใหม่ ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลล่ะค่ะ

 

5.เสี่ยงที่จะตัดสินใจผิด วางกลยุทธ์ผิด
ข้อนี้อาจจะรู้สึกงง ๆ ว่า Digital Transformation เกี่ยวอะไรกับการตัดสินใจ บอกเลยว่า เกี่ยวเต็ม ๆ ค่ะ ข้อนี้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่มีให้เป็นประโยชน์ หรือที่เรียกว่า Data-Driven Decision Making (DDDM) ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลดี ๆ ที่ช่วยให้วางกลยุทธ์ ทำธุรกิจ ตัดสินใจอะไร ๆ ได้แม่นยำขึ้นแบบไม่เสียเปล่า หากองค์กรไม่รู้จักปรับใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์และเลือกตัดสินใจตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ส่วนตัวก็จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจของเรามองไม่เห็นทางเป็นม้าลำปางในที่สุด ซึ่งตรงนี้  Digital Transformation ช่วยคุณได้นะ

 

6.ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำงานลดลง
หากเราไม่เปลี่ยนไม่นำเทคโนโลยีมาช่วยธุรกิจก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังคำว่า "มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง" จากคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ น่าจะอธิบายได้ดีที่สุดหากเราไม่ปรับตัว ไม่นำ Digital Transformation มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจ นึกภาพตามว่า งานบางอย่างเราสามารถใช้เทคโนโลยีทำแทนได้โดยไม่ต้องเหนื่อย ช่วยลดงานที่ต้องทำซ้ำซาก ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน ลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพได้ เห็นไหมว่า ถ้าไม่ปรับองค์กรสู่โลก Digital Transformation อาจจะพลาดโอกาสได้นะคะ


7.เสี่ยงที่จะเจอเหตุการณ์พนักงานเก่ง ๆ ลาออก
หากไม่ปรับตัวเข้าสู่ Digital Transformation ชัวร์ ๆ เลยว่าต้องเจอกับสถานการณ์พนักงานเก่ง ๆ ลาออก เพราะหมดใจ หมดไฟ ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงาน เมื่อเจอกับสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ องค์กรของเราก็ต้องคอยลงทุนหาพนักงานใหม่บ่อย ๆ รับมาก็ต้องคอยสอนงานเทรนแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นต้นทุนแฝงที่เลี่ยงไม่ได้เลยล่ะ


อยากเริ่มทำ Digital Transformation แล้วใช่ไหมคะ?

          เตือนแล้วนะ! ทั้งหมดนี้คือ 7 เหตุเสี่ยง ๆ เรื่องเจ็บ ๆ ว่า ทำไมองค์กรหรือธุรกิจควรปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Transformation อยากลดความเสี่ยงเลี่ยงปัญหาดังกล่าวเรารับปรึกษา สำหรับใครที่สนใจในการปรับการทำงานให้เข้ากับ Digital Transformation เพื่อเสริมสร้างธุรกิจให้เติบโตและเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ www.1moby.com

 

อ่านเพิ่มเติม

0 min read
chatbot-creation-Customer-chat-helper-Incredibly-reducing-labor-and-costs
Marketing Automation22 พฤษภาคม 2023

การสร้างแชทบอท ตัวช่วยตอบแชทกับลูกค้า ลดแรงและต้นทุนได้อย่างไม่น่าเชื่อ

          การแชทเป็นช่องทางสื่อสารที่ทุกคนใช้เป็นประจำทุกวัน!! ในวันนี้เราต้องยอมรับว่า ลูกค้าชอบแชทสอบถามรายละเอียดก่อนช้อปกันมาก ๆ ใจร้อนและหากธุรกิจไหนตอบแชทช้าไม่ทันใจ ลูกค้าก็จะหนีหายไม่รอและไปอุดหนุนเจ้าอื่นแทน ทำให้เราพลาดโอกาสสร้างรายได้ แต่จะให้เรามานั่งตอบแชทตลอดทั้งวันตลอดเวลาก็คงจะไม่ได้ ดังนั้น การสร้างแชทบอทมาเป็นตัวช่วยตอบคำถามพบบ่อยและปิดยอดขายก็เป็นสิ่งที่ต้องทำค่ะ


แชทบอท (Chatbot) กับ แชทบอทเอไอ (Chatbot AI) ต่างกันอย่างไร 

          ง่าย ๆ ไม่ยากค่ะ Chatbot เป็นส่วนผสมของคำว่า Chat + Robot คือ บอทที่ถูกสร้างมาให้ถามตอบคำถามพบบ่อยทั่วไป ส่วน Chatbot AI เป็นบอทเหมือนกันแต่ถูกสร้างมาให้ฉลาดกว่าด้วย Dialogflow ทำงานเหมือนเป็นคนตอบ ใช้ภาษาตอบแชทได้อิสระเป็นธรรมชาติเหมือนคนคุยกันจริง ๆ ซึ่งทั้ง Chatbot และ Chatbot AI สามารถตอบกลับการสนทนาแบบอัตโนมัติ ช่วยเบาแรงให้เราไม่ต้องคอยตอบคำถามเดิม ๆ ซ้ำ ๆ นั้นเอง


การสร้างแชทบอทมีประโยชน์กับร้านค้าออนไลน์ยังไง 

          เอาจริง ๆ ถ้าให้พูดแบบตรงไปตรงมาว่าประโยชน์ของการสร้างแชทบอทคืออะไร คงจะต้องบอกว่า 

  • การสร้างแชทบอท ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ทำงานได้อย่างสะดวก สบายมากยิ่งขึ้น
  • การสร้างแชทบอท ช่วยปิดยอดขายได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาพนักงานแอดมินให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยตอบแชทลูกค้าได้ทุกวัน ทุกเวลา แบบทันเวลา 
  • การสร้างแชทบอท ช่วยจบปัญหาแอดมินอู้งานไม่ยอมตอบแชทลูกค้าได้ดีเยี่ยม!


อยากใช้แชทบอทต้องเตรียมอะไรบ้าง

           ถ้าอยากเริ่มสร้างแชทบอทเราจะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า เรามีวัตถุประสงค์ใช้แชทบอทเพื่อทำอะไร ? เช่น สร้างแชทบอทเพื่อเก็บรายชื่อลูกค้า, สร้างแชทบอทเพื่อช่วยขายสินค้าปิดยอดขาย, สร้างแชทบอทเพื่อตอบคำถามพบบ่อย ฯลฯ หากมีเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะช่วยให้การสร้างแชทบอทนั้นไม่สูญเปล่า ช่วยลดแรง และช่วยลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี 
นอกจากนี้เราจะต้องรู้ว่าอยากจะให้แชทบอทอยู่บนแพลตฟอร์มไหน เช่น Facebook, LINE หรือ Website ตามด้วยการดีไซน์รูปแบบการสนทนาให้กับบอท และก็ลงมือทำ อย่างไรก็ดี เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด การทำแชทบอทนั้นไม่ควรทำแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ หรือทำเสร็จแล้วก็ปล่อยเลยตามเลย เราควรทำการเก็บข้อมูล มอนิเตอร์ตลอดเวลา และปรับปรุงบอทเรื่อย ๆ นะคะ 

 

สร้างแชทบอทไม่เป็นต้องทำอย่างไร 

          อ่านทำความเข้าใจรายละเอียดการสร้างแชทบอท ตัวช่วยตอบแชทกับลูกค้า ลดแรงและต้นทุนได้อย่างไม่น่าเชื่อเรียบร้อยแล้ว หากมีไฟมีใจอยากเริ่มสร้างแชทบอท เรามีบริการสร้างแชทบอทให้กับทุกธุรกิจ สนใจบริการติดต่อได้ https://www.1moby.com เราพร้อมเปลี่ยนไอเดียให้กลายเป็นความจริงค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

0 min read