เทรนด์ธุรกิจในโลกการตลาดและไอที คงเคยได้ยินคำว่า Software as a Service หรือ SaaS กันมาบ้าง แต่เราจะยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของ SaaS ว่าคืออะไร มีความสำคัญ และอะไรถึงจะถูกเรียกว่า SaaS กัน ในบทความนี้เราขอเสนอความหมายที่แท้จริงของ SaaS พร้อมอธิบายทุกข้อสงสัยภายในบทความนี้
SaaS คืออะไร
Sass หรือ Software as a Service (SaaS) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการให้บริการซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนคลาวด์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนอุปกรณ์ของตนเอง บริการ SaaS จะกำหนดค่าใช่จ่ายสำหรับการใช้งานตามที่เราต้องการใช้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อทั้งหมด และซอฟแวร์ SaaS จะทำให้คุณไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาหรือการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ลักษณะสำคัญของ SaaS
1.การเข้าถึงผ่านอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์จากทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและมีอุปกรณ์ที่สามารถรองรับซอฟแวร์ได้ เช่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน SaaS ไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของผู้ใช้ ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งและดูแลระบบ (ง่าย ๆ ก็คือสามารถใช้งานระบบ SaaS ผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดลงเครื่องนั่นเอง)
2.รูปแบบการชำระเงิน
SaaS มักจะให้บริการในรูปแบบการสมัครสมาชิก (Subscription Model) โดยผู้ใช้จะจ่ายค่าบริการตามระยะเวลาที่เลือก เช่น รายเดือนหรือรายปี หรือบางครั้งอาจจะคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง ซึ่งย่อมดีกว่าการลงทุนในการลงทุนซื้อซอฟแวร์ในครั้งเดียว แถมยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
3. การอัปเดตและบำรุงรักษา
การอัปเดตจะเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติจากบริษัทที่ให้ซอฟแวร์เอง ทำให้เราจะได้รับฟีเจอร์ใหม่ ๆ รวมถึงการใช้งานที่อัปเดทให้ดีขึ้น โดยที่เราไม่ต้องคอยอัปเดต ไม่ต้องปรับปรุงหรือบำรุงรักษาระบบซอฟแวร์เอง
4. ความยืดหยุ่นและการปรับขนาด (Scalability)
SaaS สามารถปรับขนาดไปตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้ ไม่ว่าผู้ใช้จะต้องการเพิ่มหรือลด เช่น การเพิ่มจำนวนผู้ใช้ เพิ่มฟีเจอร์ ขยายพื้นที่เก็บข้อมูล หรือลดฟีเจอร์ที่ไม่การออกก็ทำได้เช่นกัน โดยผู้ใช้อาจจะเริ่มต้นจากแผนพื้นฐาน และค่อย ๆ ปรับแผนให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา หรือค่อยอัปเกรดแผนหากมีความต้องการเพิ่มขึ้น สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถควบคุมงบประมาณให้เป็นไปตามการใช้งานจริง ๆ ได้
5. การแบ่งปันทรัพยากร (Multitenancy)
SaaS เป็นการใช้งานระบบซอฟแวร์และทรัพยากรร่วมกันในระบบเดียวกันได้ แต่ข้อมูลและการใช้งานของแต่ละผู้ใช้จะแยกจากกัน ทำให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ให้บริการ
6. การสำรองข้อมูลและความปลอดภัย
ผู้ใช้บริการ SaaS จะดูแลการสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันข้อมูลที่สูญหายของข้อมูล รวมถึงมาตรการความปลอดภัยของการเข้าข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยและกู้คืนข้อมูลหากมีปัญหาได้
ประเภทแอปพลิเคชัน SaaS ที่ใช้กันทั่วไปมีอะไรบ้าง
- CRM (Customer Relationship Management) ใช้สำหรับ: การจัดการลูกค้าสัมพันธ์, การขาย, การตลาด, การบริการลูกค้า
- ERP (Enterprise Resource Planning) ใช้สำหรับ: การจัดการทรัพยากรองค์กร เช่น การเงิน, การผลิต, การบริหารสินค้าคงคลัง, ทรัพยากรบุคคล
- Collaboration Tools ใช้สำหรับ: การทำงานร่วมกัน, การแชร์ข้อมูล, การประชุมออนไลน์, การสื่อสารภายในทีม
- E-commerce Platforms ใช้สำหรับ: การสร้างและจัดการร้านค้าออนไลน์, การบริหารสินค้าคงคลัง, การจัดการคำสั่งซื้อ
- Project Management and Task Management ใช้สำหรับ: การจัดการโครงการ, การติดตามงาน, การจัดการทีม, การวางแผนงาน
- Accounting and Finance ใช้สำหรับการจัดการบัญชี, การทำบัญชี, การจัดทำรายงานทางการเงิน, การออกใบแจ้งหนี้
- Human Resources (HR) and Payroll ใช้สำหรับ: การจัดการทรัพยากรบุคคล, การจ่ายเงินเดือน, การจัดการสวัสดิการพนักงาน, การบริหารผลประโยชน์
- Marketing Automation ใช้สำหรับ: การทำแคมเปญการตลาด, การจัดการอีเมล, การวิเคราะห์และติดตามการตลาด
- Customer Support ใช้สำหรับ: การให้บริการลูกค้า, การจัดการคำร้องเรียน, การสนับสนุนลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ
- Content Management Systems (CMS) ใช้สำหรับ: การสร้างและจัดการเว็บไซต์, การจัดการเนื้อหาออนไลน์, การบล็อก
- File Storage and Collaboration ใช้สำหรับ: การจัดเก็บและแชร์ไฟล์, การเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่, การทำงานร่วมกันบนเอกสารเดียวกัน
- Business Intelligence (BI) and Analytics ใช้สำหรับ: การวิเคราะห์ข้อมูล, การสร้างรายงาน, การวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ
ตัวอย่าง SaaS ที่เรารู้จักกันดี
1.Google Workspace (เดิมคือ G Suite) : ชุดโปรแกรมที่รวมเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Gmail, Google Drive, Google Docs, Google Sheets และ Google Meet สำหรับการทำงานร่วมกันและการสื่อสาร
2. Microsoft 365 : ชุดโปรแกรมสำนักงานออนไลน์ที่รวมถึง Word, Excel, PowerPoint, Outlook และบริการคลาวด์เช่น OneDrive และ Microsoft Teams
3. Salesforce : แพลตฟอร์มการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่ช่วยธุรกิจในการจัดการและติดตามข้อมูลลูกค้า การขาย และการตลาด
4. Dropbox : บริการจัดเก็บไฟล์บนคลาวด์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บ แชร์ และเข้าถึงไฟล์จากทุกที่ผ่านอินเทอร์เน็ต
5. Slack : แพลตฟอร์มการสื่อสารภายในองค์กรที่ช่วยให้ทีมงานสามารถสนทนา แชร์ไฟล์ และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ SaaS
- ลดต้นทุนในการลงทุนเริ่มต้น: ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ราคาแพง ผู้ใช้จ่ายเฉพาะค่าบริการที่ใช้งาน
- ใช้ต้นทุนต่ำ: เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการติดตั้งบำรุงรักษา อัปเดตระบบ หรือการจัดเก็บข้อมูล
- ความยืดหยุ่น: สามารถปรับแต่งการใช้งานได้ตามความต้องการ และสามารถเพิ่มหรือลดบริการได้อย่างรวดเร็ว จากการเลือกซื้อแพ็กเกจ
- การเข้าถึงได้ทุกที่: การทำงานจากที่ใดก็ได้ ทำให้การทำงานแบบ Remote Work เป็นไปได้อย่างราบรื่น เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
- ความปลอดภัยและการสำรองข้อมูล: ผู้ให้บริการจะจัดการเรื่องความปลอดภัยและการสำรองข้อมูลให้กับผู้ใช้
- อุปกรณ์รองรับผู้ใช้งาน: SaaS ไม่จำกัดประเภทของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะใช้ Window หรือ Mac ก็สามารถใช้งานได้ หรือใช้งานผ่านอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์
- การอัปเดตระบบซอฟต์แวร์: ผู้ให้บริการสามารถอัปเดตระบบได้ง่าย ๆ ไม่ต้องคอยอัปเดตลงเครื่องเอง
- บริการแบบ License: หรือจำกัดระยะเวลาใช้งานเป็นรายเดือน รายปี หากไม่ใช้ก็สามารถยกเลิก License ได้ ยืดหยุ่นกว่าซอฟต์แวร์แบบถาวรที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ทีเดียว
ข้อจำกัดของ SaaS
- การพึ่งพาอินเทอร์เน็ต: การใช้งาน SaaS จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียร หากว่าเน็ตไม่เสถียรก็ส่งผลต่อการใช้งานได้
- ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล: แม้ว่าผู้ให้บริการจะมีมาตรการความปลอดภัย แต่ผู้ใช้ยังต้องพิจารณาเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เก็บบนคลาวด์
- การปรับแต่ง: บางครั้ง SaaS อาจมีข้อจำกัดในการปรับแต่งซอฟต์แวร์ตามความต้องการเฉพาะของผู้ใช้ เพราะความสามารถจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเป็นหลัก แต่ก็มีผู้พัฒนา SaaS ที่สามารถปรับแต่งความสามารถตามความต้องการของเราได้เช่นกัน แต่นั้นก็จะมีการเสียค่าบริการเพิ่มเติม
- เรื่องของกรรมสิทธิ์: เพราะเป็นลักษณะของการซื้อ Licence ต่ออายุการใช้งานตามรายเดือน รายปี หรือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
SaaS เป็นแนวทางที่สะดวกและคุ้มค่าสำหรับธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไปในการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ต้องรับภาระในการติดตั้งและดูแลรักษาระบบด้วยตนเอง ซึ่ง 1Moby ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เป็น SaaS เช่นเดียวกัน นั่นคือ UniSight บริการ CDP ที่ให้คุณรู้จักและรู้ใจลูกค้ามากกว่าเดิม และ Thaibulksms ที่ตอนนี้เราไม่ได้มีแค่ SMS แล้วนะคะ เพราะเราคือ Multi Channel Communication ที่ให้คุณสามารถสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางยอดนิยมของไทยอย่าง SMS Email และ LINE LON ได้ในแพลตฟอร์มเดียวค่ะ